ตั้งแต่ที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นจนส่งผลให้เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะในปี 2011 เวลาก็ได้ผ่านล่วงเลยไปเกือบๆ 9 ปีแล้ว และแม้ว่าในเวลานั้น ทางญี่ปุ่นจะสามารถอพยพผู้ชนในพื้นที่ออกจากจุดเสี่ยงได้ทันเวลาก็ตาม แต่มันก็ทำให้พื้นที่บางส่วนของฟุกุชิมะถูกระบุให้เป็น “เขตยกเว้น” ที่ห้ามผู้คนเข้าไปอาศัยอยู่ดี
แต่ในระหว่างที่ผู้คนกว่า 164,000 คนถูกย้ายที่อยู่ออกไปนั่นเอง ภายในพื้นที่เขตยกเว้นของฟุกุชิมะ นักวิทยาศาสตร์กลับได้พบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ที่น่าสนใจอย่างไม่น่าเชื่อเข้าจนได้
นั่นเพราะแม้ว่าในบางจุดของฟุกุชิมะจะยังคงมีรังสีตกค้างอยู่ก็ตาม ในความอ้างว้างนั้น นักวิทยาศาสตร์กลับพบว่ามีสัตว์หลากหลายชนิดแล้ว ที่เริ่มกลับเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่
การค้นพบในครั้งนี้ เกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ทำการติดตั้งกล้องสังเกตการณ์ฝ่ายในพื้นที่เขตยกเว้นทั้งหมดของฟุกุชิมะ ตลอดช่วงเวลาการทดลอง 120 วัน (แบ่งเป็นครึ่งล่ะ 60 วัน)
โดยหลังจากการทดลองจบลง ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำการวิเคราะห์ภาพที่พวกเขาเก็บมาได้กว่า 267,000 ภาพ และพบว่าในปัจจุบันพื้นที่ไร้ผู้คนของฟุกุชิมะนั้น ได้กลายเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า อย่างหมู ลิง และสุนัขจิ้งจอกแล้ว
อ้างอิงจากคุณ Thomas Hinton นักนิเวศวิทยารังสีแห่งมหาวิทยาลัยฟุกุชิมะ ดูเหมือนว่า “เมื่อเวลาผ่านไปสัตว์ป่าบางชนิดจะมีการตอบสนองที่ดี ต่อการที่พื้นที่ไม่มีมนุษย์อยู่ แม้ว่าในพื้นที่จะยังคงมีปริมาณรังสีหลงเหลืออยู่บ้างก็ตาม”
การค้นพบในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความจริงที่น่าสนใจมากข้อหนึ่ง นั่นคือแม้ว่าสัตว์ในพื้นที่จะได้รับผลกระทบจากรังสีก็ตาม แต่ผลกระทบดังกล่าวนี้กลับไม่ได้มีผลกระทบต่อการเสียประชากรสัตว์ในระยะยาวเลย เมื่อเทียบกับผลกระทบต่อประชากรสัตว์ที่มาจากมนุษย์
จริงอยู่ว่าด้วยการจะตัดสินในปัจจุบันเราจะยังจำเป็นต้องทำการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมกันอีกมากกว่าที่เราจะมั่นใจได้ว่าผลกระทบระยะยาวของภัยพิบัตินิวเคลียร์นั้น มีผลกระทบต่อสัตว์ป่าภายในรัศมีการระเบิดแบบใด
แต่อย่างน้อยๆ จากข้อมูลที่เรามีมันก็เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า การอยู่อาศัยของมนุษย์นั้นทำลายประชากรสัตว์ได้มากกว่าผลกระทบจากรังสีเสียอีก
“มนุษย์เป็นมะเร็งของธรรมชาติ” คุณ Thomas กล่าว “การปรากฏตัวของมนุษย์ที่เพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่องมีผลกระทบต่อสัตว์ป่าหลายชนิด ซึ่งต่างจากธรรมชาติที่มีความยืดหยุ่น ทำให้หากการมีอยู่ของมนุษย์ลดลง ประชากรสัตว์ป่าก็จะค่อยๆ ฟื้นตัวและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างที่เห็น”
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น