ณ พื้นที่ชายแดนระหว่างเปรูและโบลิเวียในทวีปอเมริกาใต้ ยังคงมีทะเลสาบชื่อดังที่มีความยาวกว่า 190 กิโลเมตรอย่าง “ทะเลสาบติติกากา” ตั้งอยู่ ซึ่งตั้งแต่ในอดีต ทะเลสาบอันกว้างใหญ่แห่งนี้ได้บังคับให้ใครก็ตามที่ต้องการจะเดินทางข้ามมัน จำเป็นที่จะต้องเดินทางด้วยเรือหรือแพก็เท่านั้น
ในช่วงเวลาของชนพื้นเมือง พวกเขาเรียกที่จะใช้เรือที่ทำจากต้นกกที่ชื่อว่า “โตโตระ” ส่วนตั้งแต่ยุคการล่าดินแดนของชาวยุโรปเป็นต้นมา ที่แห่งนี้ก็เริ่มที่จะเต็มไปด้วยเรือไม้ และเรือพลังไอน้ำในเวลาต่อมา
และในบรรดาเรือจำนวนมากในทะเลสาบติติกากานั้น ก็คือเรือ “Yapura” และ “Yavari” นั่นเอง
Yavari (ด้านหลัง) และ Yapura (ด้านหน้า) ระหว่างการจอดเทียบท่าในปี 1890
เรือทั้งสองลำนี้ถูกประกาศออกมาปี 1861 โดยรัฐบาลของเปรู ซึ่งสั่งสร้างเรือในรูปแบบที่เรียกว่า “Knock down” ซึ่งเป็นการต่อเรือขึ้นในอู่ต่อเรือในต่างประเทศ ก่อนจะแยกชิ้นส่วนเป็นพันๆ ชิ้นและขนส่งไปต่อใหม่อีกครั้งในที่หมาย
ในช่วงเวลาแรกๆ ผู้รับเหมาคิดว่าการขนส่งนั้นจะสามารถจบลงได้ในเวลาเพียงครึ่งปี อย่างไรก็ตามการจะขนเหล็ก 210 ตันและนำมาประกอบให้ถูกต้องอีกครั้งนั้น แท้จริงแล้วเป็นเรื่องยากกว่าที่คิด แถมการขนย้ายเองก็มีปัญหาอยู่มากมาย (อย่างการที่สเปนขู่จะบุกเปรูเป็นครั้งที่สอง)
ดังนั้นกว่าที่เรือทั้งสองลำนี้จะสร้างเสร็จพร้อมใช้จริงๆ มันก็ในปี 1870 สำหรับเรือ Yavari และในปี 1872 สำหรับเรือ Yapura
เรือทั้งสองลำนี้ถูกสร้างขึ้นมาให้มีรูปแบบเหมือนกัน โดยมีความยาวราวๆ 30 เมตร และมีลักษระเด่นอยู่ที่การใช้งานเครื่องยนต์ไอน้ำพลังงาน “มูลแห้ง” ของตัวลามะ อันเป็นเชื้อเพลิงที่คนในท้องถิ่นใช้งานกัน
เรือทั้งสองลำนี้สามารถผลิตกำลังเครื่องยนต์ได้สูงสุดอยู่ที่ 60 แรงม้า และทำงานให้กับประชาชนในทะเลสาบติติกากามาเป็นเวลานาน หลายทศวรรษ
ภาพที่เก่าแก่ที่สุดของ Yavari จากปี 1887
Yavari ขณะจอดรอการปรับปรุงเรือในปี 1992
Yavari นั้นได้รับการเข้าปรับปรุ่งในปี 1914 โดยมีการเพิ่มขนาดเรือและเปลี่ยนเครื่องยนต์ แต่ไม่นานหลังจากนั้น เรือลำนี้กลับก็ต้องพบกับปัญหางบประมาณไม่พอจนถูกปลดประจำการ ก่อนที่จะถูกซื้อโดยองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ และนำไปจอดที่อ่าวปูโนในเวลาต่อมา
Yavari ในปัจจุบัน
.
ส่วนเรือ Yapura นั้น เรียกได้ว่าโชคดีกว่าเรืออีกลำเล็กน้อย เพราะมันนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็น BAP Puno และดัดแปลงเป็นเรือพยาบาลเท่านั้น แถมยังคงโลดแล่นอยู่ที่ทะเลสาบแห่งนี้ แม้เวลาผ่านไปเกือบ 150 ปีแล้วก็ตาม
BAP Puno (Yapura) ในปัจจุบัน
.
ที่มา amusingplanet
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น