มันเป็นเรื่องที่หลายๆ คนทราบกันว่าใต้ท้องทะเลนั้น เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความลึกลับ และเต็มไปด้วยสิ่งที่เราไม่รู้จัก
แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในตอนที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ทำการ สำรวจก้อนหินโบราณอายุว่า 100 ล้านปี ที่ตั้งอยู่ลึกลงไปใต้ท้องทะเลแปซิฟิกใต้ เชื่อว่าพวกเขาก็คงไม่คิดหรอกว่าในที่แห่งนั้น จะมีสิ่งมีชีวิตแบบแบคทีเรียอาศัยอยู่ได้ แถมปริมาณของพวกมัน ยังมากกว่า 10,000 ล้านตัวต่อพื้นที่ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้นด้วย
แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียวพบ ภายในงานวิจัยชิ้นใหม่เพื่อการตามหาสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวใต้ทะเล ที่กำลังเป็นที่สนใจเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน
จากรายงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Communications Biology เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ทีมนักวิจัย ค้นพบอาณานิคมขนาดใหญ่ใต้ทะเลนี้ หลังจากที่พวกเขาทำการสำรวจตัวอย่างก้อนหิน 3 ก้อนที่ถูกเก็บมาจากชั้นหินลึกลงไป 122 เมตรใต้พื้นทะเล และมีอายุต่างๆ กันไปตั้งแต่ 13.5 ล้านปี 33.5 ล้านปี และ 104 ล้านปี
โดยก้อนหินที่พวกเขาพบนั้น ทั้งหมดล้วนแต่ถูกเก็บมาจากพื้นที่ที่ห่างใกล้จากปล่องน้ำร้อนใต้สมุทร ทั้งสิ้นดังนั้นแบคทีเรียที่พวกเขาพบ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะอาศัยอยู่ในหิน โดยกินสารอินทรีย์ในดินเหนียว และแพร่พันธุ์มาเองเป็นเวลากว่าล้านปีแล้ว ไม่ใช่แค่ลอยมาติดในหินจากปล่องน้ำร้อนเท่านั้น
อ้างอิงจากคุณ Yohey Suzuki ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์โลกและดาวเคราะห์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว หัวหน้าทีมวิจัย แบคทีเรียที่ถูกพบนั้น มีปริมาณอยู่มากพอๆ กับความหนาแน่นของแบคทีเรียในท้องและลำไส้ของมนุษย์
เส้นสีเขียวที่เห็น คือบริเวณของหินที่มีแบคทีเรียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่น่าสนใจมากสำหรับสถานที่อย่างในหินใต้พื้นทะเล อันเป็นสถานที่ที่นักวิทยาศาสตร์ เคยสงสัยกันมาบางว่าอาจมีสิ่งมีชีวิต แต่ก็ยังแทบไม่เคยมีหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันเลย
และก็แน่นอนว่าเช่นเดียวกับการค้นพบแบคทีเรียปริมาณมากๆ ในอดีต แบคทีเรียที่ถูกพบในครั้งนี้ โดยมากแล้วก็ล้วนแต่จะเป็นแบคทีเรียที่ไม่น่าจะมีอันตรายกับมนุษย์ แถมกลับกันการศึกษาพวกมันยังถือว่าเป็นประโยชน์กับมนุษย์แทนเสียด้วยซ้ำ
คุณ Yohey Suzuki ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว หัวหน้าทีมวิจัย
นั่นเพราะการที่เราทำการศึกษาสิ่งมีชีวิตที่สามารถอาศัยอยู่ในชั้นหินใต้ทะเล ที่ถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่ลำบากแก่การใช้ชีวิตเช่นนี้ จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาปัจจัยที่จะทำให้มีสิ่งมีชีวิตบนดวงดาวอื่นๆ นอกจากโลกใบนี้ได้ไม่ยากเลย
ที่มา livescience, u-tokyo และ nature
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น