เป็นเรื่องที่เราทราบกันว่าหนูเป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ในแทบทุกประเทศทั่วโลก ถึงอย่างนั้นก็ตามในบางประเทศเองพวกเขาก็อาจจะต้องพบกับปัญหาหนูที่มากกว่าประเทศอื่นๆ อยู่บ้าง จนถึงขนาดที่พวกเขาต้องพบกับสถานการณ์ที่เรียกว่า “ภัยพิบัติหนู” เลย
ประเทศที่มีปัญหาดังกล่าวนั้น ได้แก่ประเทศจีนและประเทศออสเตรเลีย โดยทั้งสองประเทศนั้นมีจุดร่วมคือเป็นประเทศใหญ่ซึ่งมีภูมิภาคที่ปลูกเมล็ดข้าวอยู่มาก เฉพาะประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเจอปัญหานี้แทบจะทุกสองสามปีเลย
โดยภาพที่เพื่อนๆ กำลังเห็นอยู่นี้คือภาพของภัยพิบัติหนูแห่งออสเตรเลียในปี 1917 ปีซึ่งแม้แต่เขตเมืองอย่างซิดนีย์ก็ต้องพบกับหนูจำนวนรวมๆ กว่า 500-1,000 ล้านตัว ซึ่งเทียบได้ว่าบ้านหนึ่งหลังมีหนูอยู่ราวๆ 100 ตัวเลย
ในปีนั้นพื้นที่ควีนส์แลนด์และวิกตอเรียของออสเตรเลียต้องพบกับสิ่งที่แทบจะเรียกได้ว่าทะเลหนู พวกมันกัดกินทำลายทั้งต้นข้าว รองเท้าบูท ผ้าปูโต๊ะ พรม ผ้าม่าน เสื้อผ้า เตียงและหนังสือ แถมในบางครั้งพวกมันยังกัดเด็กเล็กในแปล สายโทรศัพท์หรือตรายางและพัสดุในสถานีรถไฟอีกด้วยเรียกได้ว่าสร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
และก็แน่นอนว่าขึ้นชื่อว่าเป็นหนู สัตว์เหล่านี้ย่อมเป็นพาหะสำคัญของโรคร้ายมากมายอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เองในเวลานั้น ผู้คนจึงต้องใช้วิธีการขึ้นเด็ดขาดในการกำจัดหนูเหล่านี้เลย
พวกเขานั้นไม่สามารถพึ่งพาแมวตามปกติได้ เนื่องจากหนูในพื้นที่นั้นมากเกินไปจนจากที่แมวจะไล่จับหนูตามปกติ หนูกลับมีการเกินไปจนแมวเป็นฝ่ายกลัวแทน ดังนั้นการไล่ล่าหนูจึงต้องตกเป็นหน้าที่ของมนุษย์ผู้ซึ่งทำงานทั้งวันทั้งคืนแทน
อ้างอิงจากบันทึกในสมัยนั้น เจ้าหน้าที่เคยจับหนูได้มากที่สุดถึงราวๆ 200,000 ตัว ซึ่งมีน้ำหนักรวมกัน 3 ตันภายในคืนเดียว และในเมืองวิกตอเรียเองก็ถึงกับมีข่าวหญิงสาวสองคนซึ่งสามารถกระโดดเหยียบหนูกว่าพันตัวในเวลาแค่ 2 ชั่วโมงเลย
เหตุผลที่ออสเตรเลียต้องพบกับการระบาดของหนูเป็นประจำนั้น ยังเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่อาจทำความเข้าใจได้โดยสมบูรณ์
อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ของหนูที่เป็นต้นเหตุของภัยพิบัติครั้งนี้โดยมากจะไม่ใช่หนูท้องถิ่นของทวีปเอง กลับกันพวกมันนั้นติดมากับเรือจากยุโรปในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ดังนั้นมันจึงมีความเป็นไปได้ว่าหนูเหล่านี้ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วเพราะไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ หรือไม่ก็สภาพอากาศที่ต่างไปจากที่เคยเป็นนั่นเอง
ไม่ว่าจะเพราะอะไร ท้ายที่สุดแล้วภัยพิบัติหนูในปี 1917 ของออสเตรเลียก็ได้กินเวลายาวนานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ มีจุดที่น่ากลัวที่สุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายนและสิงหาคม ก่อนที่จะจบลงในที่สุดในช่วงปลายปี โดยมีหนูกว่า 100 ล้านตัว รวมน้ำหนักกว่า 1,500 ตันถูกฆ่าไป
แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุการณ์ภัยพิบัติหนูที่ยิ่งใหญ่เพียงครั้งเดียวในโลกแต่อย่างไร เพราะในปี 1993 ภัยพิบัติหนูครั้งใหญ่ก็กลับมาเยือนประเทศนี้อีกครั้ง โดยในครั้งนี้แม้ว่าขนาดภัยแท้ว่าหนูจะไม่ได้เยอะเท่าในปี 1917 แต่มันก็ทำให้ประเทศได้รับความเสียหายไปเป็นมูลค่าราว 64-94 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเลย (ราว 1,300-1,980 ล้านบาท)
ที่มา amusingplanet
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น