CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ชมภาพถ่ายชุดแรกๆ ของ Skylab สถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐฯ ที่ขึ้นสู่วงโคจรในปี 1973

ย้อนกลับไปในปี 1973 องค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาได้ประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ เมื่อ สถานีอวกาศ “Skylab” สถานีอวกาศแห่งแรกของประเทศถูกส่งขึ้นไปอยู่ในวงโคจรของโลก

นับตั้งแต่วันนั้นจนถูกเลิกใช้ไปในปี 1979 สถานีอวกาศ Skylab ก็ได้กลายเป็นห้องทดลองสำหรับศึกษาผลกระทบจากภาวะไร้แรงดึงดูด ที่มอบความรู้ใหม่ๆ แก่มนุษยชาติมากมาย

ดังนั้นเพื่อย้อนถึงช่วงเวลาแรกๆ ที่มนุษย์ไปประจำการบนอวกาศ ในวันนี้เราจึงจะไปย้อนชมภาพเก่าๆ ของ สถานีอวกาศแห่งนี้ในช่วงแรกๆ ที่ขึ้นไปบนวงโคจรกัน

 

เรามาเริ่มกันจากภาพประกอบของ Skylab ตามที่วางแผนไว้ในปี 1971

 

การปล่อยจรวด Saturn V ซึ่งบรรทุก Skylab เอาไว้

 

Skylab ในวงโคจรพร้อมระบบที่บังแดดแบบหุบได้ และแผงโซลาร์เซลล์จากปี 1973

 

นักบินอวกาศ Joseph Kerwin ตรวจร่างกาย Charles Conrad ระหว่างภารกิจแรกของ Skylab ในปี 1973

 

Jack R.Lousma หลังจากอาบน้ำในอุปกรณ์ปิดผนึกในเวิร์กชอปของ Skylab

 

Charles Conrad ในอุปกรณ์อาบน้ำของ Skylab ในปี 1973

 

นักบินอวกาศ Owen Garriott กินอาหารแบบกล่องบนสถานีอวกาศ Skylab เมื่อปี 1973

 

นักบินอวกาศ Joseph Kerwin เป่าฟองน้ำผ่านหลอดระหว่างภารกิจ Skylab ในปี 1973

 

นักบินอวกาศ Charles Conrad ตัดผมให้ Paul Weitz บน Skylab ในปี 1973

 

Owen Garriott ระหว่างที่ร่างกายส่วนล่างอยู่ในอุปกรณ์สร้างอากาศแรงดันลบ (Negative Pressure) เมื่อปี 1973

 

นักบิน Alan Bean อ่านหนังสือในเวลาพักบนเตียงแบบพิเศษที่ยึดร่างกายของเขาไว้ไม่ให้ลอยเมื่อปี 1973

 

Gerald P. Carr ผู้บัญชาการของภารกิจ Skylab แสดงความแข็งแกร่ง ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงโดยการยกนักบิน William R. Pogue ด้วยนิ้วเดียว เมื่อปี 1974

 

Owen Garriott ออกไปเดินอวกาศ (บางทีก็เรียกว่า “Spacewalk” หรือ “extra-vehicular activity”) ในปี 1973

หมายถึงการใส่ชุดอวกาศออกมาปฏิบัติการนอกสถานี โดยในกรณีนี้เพื่อทำงานกับกล้องโทรทรรศน์ของ Skylab

 

ชิ้นส่วนตะแกรงของ Skylab ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

 

 แบบสรุปการทดลองที่สำคัญๆ บน Skylab

 

Skylab ในระหว่างการปฏิบัติงานในวงโคจร

 

และภาพความคมชัดสูงของการใช้ชีวิตประจำวันบน Skylab

 

ที่มา rarehistoricalphotos


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น