หากว่าเรายกให้ประเทศอียิปต์เป็นดินแดนแห่งการทำมัมมี่ด้วยมือมนุษย์ พื้นที่ไซบีเรียของรัสเซียก็คงจะเป็นดินแดนแห่งมัมมี่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ นั่นเพราะนอกจากที่ผ่านๆ มาเราจะเคยพบมัมมี่ที่สมบูรณ์มากๆ ของทั้งลูกม้าและสุนัขหมาป่าในที่แห่งนี้มาแล้ว เมื่อล่าสุดนี้เอง นักวิทยาศาสตร์ก็มีโอกาสได้พบกับมัมมี่ของนกเพิ่มมาอีกหนึ่งตัวแล้ว
เจ้ามัมมี่นกที่ถูกพบตัวล่าสุดนี้ ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2018 โดยเป็นมัมมี่ของนกสายพันธุ์โบราณ ที่มีอายุมากกว่า 46,000 ปี และถูกเก็บเอาไว้แบบสมบูรณ์มาก จนมีทั้งขนและเล็บเหลืออยู่ตากความช่วยเหลือของดินเยือกแข็งคงตัวหรือ “เพอร์มาฟรอสท์”
เมื่อมัมมี่ตัวนี้ถูกตรวจสอบโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์มและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งสวีเดน พวกเขาก็พบว่ามันมีน่าจะเป็นมัมมี่ของนกสายพันธุ์ “Eremophila alpestris” หรือ “นกลาร์คเขา” นกซึ่งเป็นบรรพบุรุษของนกลาร์คสองสายพันธุ์ในปัจจุบันอีกที
“ไม่เพียงแต่เราสามารถระบุว่านกลาร์คเขาได้เท่านั้น การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมยังแสดงให้เราเห็นด้วยว่านกที่พบเป็นบรรพบุรุษของนกลาร์ค 2 สายพันธุ์ในปัจจุบัน ซึ่งพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่ในไซบีเรียเอง ส่วนอีกสายพันธุ์อาศัยอยู่ในมองโกเลีย” คุณ Nicolas Dussex หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว
นกลาร์คไซบีเรียหนึ่งในสองนกลาร์คที่มีความเกี่ยวข้องกับมัมมี่นกที่ถูกพบ
อ้างอิงจากคำบอกเล่าของเขา มัมมี่นกลาร์คที่ถูกพบนับว่าเป็นมัมมี่นกตัวแรกที่เราเคยถูกพบมาในไซบีเรีย โดยมันยังคงขนสีเทาคล้ายถ่านเหลือให้เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งความสมบูรณ์ที่เห็นนี้เองก็จะช่วยให้นักวิจัย สามารถเรียนรู้วิถีชีวิต วิวัฒนาการ และลักษณะทางสัณฐานวิทยาของมันได้ดีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ด้วยเหตุนี้เอง ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จึงหวังเป็นของมาก ว่ามัมมี่ตัวนี้จะสมบูรณ์พอที่จะทำให้พวกเขาสามารถตรวจสอบจีโนมทั้งหมดของมันได้ เนื่องจากการนำจีโนมดังกล่าวไปเทียบกับจีโนมของนกลาร์คในปัจจุบัน จะทำให้เราสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงทาง DNA ของนกเหล่านี้ และวิเคราะห์ระบบนิเวศวิทยาในอดีตที่มันเคยอยู่ได้ไม่ยาก
ซึ่งหากเราอ้างอิงจากรายงานการค้นพบมัมมี่สัตว์ในไซบีเรียเมื่อช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้ว มันก็มีความเป็นไปได้ในระดับที่น่าสนใจเลยทีเดียว ที่สัตว์เหล่านี้ตัวใดสักตัว และไขความลับแห่งไซบีเรียในอดีตให้กับเราได้
ที่มา cbsnews, allthatsinteresting
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น