CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ชม 10 ฟอสซิลโบราณสุดแปลก แต่กลับน่าสนใจ ที่รู้ว่าโลกเราเคยมีอะไรแบบนี้ด้วย!?

แม้ว่าสำหรับคนบางกลุ่มแล้ว การเดินในพิพิธภัณฑ์จะฟังดูเป็นอะไรที่น่าเบื่อ แต่เชื่อว่าคงจะมีน้อยคนนักที่จะบอกว่ากระดูกและซากดึกดำบรรพ์จากในอดีตเป็นอะไรที่น่าเบื่อตามไปด้วย

นั่นเพราะสิ่งมีชีวิตที่มาจากช่วงเวลาในอดีตนั้น ไม่เพียงแต่ส่วนมากจะมีขนาดใหญ่โตน่าเกรงขามเท่านั้น แต่หลายๆ ชิ้นเองก็มักจะมีเรื่องราวสุดเจ๋งเป็นของตัวเองอยู่ทั้งนั้นเลยด้วย

ไม่เชื่อก็ไปลองชม 10 ฟอสซิลโบราณแสนน่าสนใจต่อไปนี้ดูสิ ไม่แน่นะว่าคุณอาจจะร้องว้าวแบบไม่รู้ตัวเลยก็ได้

 

เรามาเริ่มกันจากฟอสซิลขา (ภาพซ้าย) และตัวของอาร์เจนติโนซอรัส

นี่คือไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส (66-100 ล้านปีก่อน) โดยมันมีจุดเด่นที่ความสูงที่มากถึง 30 เมตร ในขณะที่ส่วนขาก็สูงถึง 4.5 เมตร เรียกได้ว่าแค่ขาก็ใหญ่กว่าคนเสียอีก

 

ต่อกันด้วยพบฟอสซิลของ “Borealopelta markmitchelli” ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ได้ชื่อว่าสมบูรณ์ที่สุดในโลก

มันเป็นไดโนเสาร์กินพืชร่างหุ้มเกราะจากยุคครีเทเชียสเมื่อประมาณ 110 ล้านปีก่อนซึ่งถูกพบในเหมืองทรายน้ำมัน ซึ่งยังมีทั้งผิวหนัง และชิ้นส่วนเกราะอยู่ครบ ถึงขั้นที่ยังคงมีเครื่องในบางส่วนถูกเก็บไว้อยู่ในตัวเลย

 

“AMNH 5060” ตัวอย่างไดโนเสาร์ตัวแรกที่มีผิวหนังห่อหุ้มกระดูกอยู่

นี่คือมัมมี่ของไดโนเสาร์สายพันธุ์ Edmontosaurus annectens ซึ่งถูกค้นพบในปี 1908 โดยมันเป็นไดโนเสาร์ปากเป็ด ที่อาศัยอยู่เมื่อราวๆ 66-68 ล้านปีก่อน

และความสำคัญมากๆ ในทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากข้อมูลแทบทุกอย่างเกี่ยวกับผิวหนังของไดโนเสาร์ที่เรามี โดยมากแล้วก็มักจะอ้างอิงจากมัมมี่ไดโนเสาร์ตัวนี้

 

ฟอสซิลกระดองเต่าขนาดเท่ารถ ของเต่านักสู้เมื่อ 8 ล้านปีก่อน

นี่คือกระดองของเต่ายักษ์ชื่อ “Stupendemys geographicus” เต่าที่อาศัยอยู่ในช่วงยุคไมโอซีน

มันอาจมีขนาดตัวยาวถึง 4 เมตร และหนักได้ถึง 1.25 ต้น แถมยังมักถูกพบพร้อมร่องรอยการต่อสู้ โดยเฉพาะกับจระเข้ยักษ์ขนาดใหญ่ว่า 10 เมตรแบบ Purussauri เลย

 

“Whale Valley” หุบเขาวาฬที่มีซากดึกดำบรรพ์ของวาฬยุคเก่าแก่ อยู่มากกว่า 100 ชิ้น

นี่คือพื้นที่ราวๆ ที่อยู่ห่างจากกรุงไคโรของอียิปต์ไปประมาณ 150 กิโลเมตร ซึ่งด้วยเหตุผลบางอย่างมีฟอสซิลของวาฬเก่าแก่จากช่วง 40-41 ล้านปีก่อนอยู่เป็นจำนวนมาก

แถมแต่ละชิ้นเองก็ยังเรียกได้ว่ามีความสมบูรณ์แบบสุดๆ และถูกฝังไว้พร้อมๆ สัตว์อีกหลายชนิดเช่นจระเข้ ปลากะพง เต่า และปลากระเบน ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถจำลองสภาพแวดล้อมในเวลานั้นขั้นมาใหม่ได้เป็นอย่างดี

 

ฟอสซิลหอยแอมโมไนต์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งกลายเป็นสีรุ้งในกระบวนการกลายเป็นฟอสซิลของมัน

นี่คือหอยแอมโมไนต์ซึ่งสูญพันธุ์ไปในช่วงยุคครีเทเชียส-พาลีโอจีน หรือราวๆ 66 ล้านปีก่อน อย่างไรก็ตามแทนที่จะกลายเป็นสีเทาๆ เหมือนฟอสซิลปกติแอมโมไนต์ในช่วงนี้หลายตัวกลับกลายเป็นสีรุ้งแทน

เรียกได้ว่าเป็นความงดงามอีกแบบของธรรมชาติโลกใบนี้เลย

 

ฟอสซิลสิ่งมีชีวิตในทะเลสุดแปลก ที่รูปร่างราวกับสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว

นี่คือฟอสซิลของ “ไครนอยด์” สัตว์ทะเลรูปร่างคล้ายต้นไม้ โดยเจ้าตัวในภาพเคยมีชีวิตอยู่เมื่อราวๆ 300-360 ล้านปีก่อน และเป็นแรงบันดาลใจสำหรับซีโนมอร์ฟจากภาพยนตร์ “Alien” ด้วยนะ

 

ฟันของไดโนเสาร์ซึ่งกลายเป็นโอปอล สุดน่าหลงไหล

นี่คือฟันของไดโนเสาร์ที่ถูกพบใน Lightning Ridge ออสเตรเลีย โดยมันเป็นฟันที่เชื่อกันว่ามาจากไดโนเสาร์ที่เคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อ 11 ล้านปีก่อน

อย่างไรก็ตามด้วยความที่ตัวฟันที่พบมีสภาพเปลี่ยนไปจากในอดีตค่อนข้างมากในปัจจุบันเราจึงยังไม่สามารถบอกได้เลยว่าแท้จริงแล้วมันเป็นฟันของไดโนเสาร์ชนิดใดกันแน่

 

และปิดท้ายกันไปด้วยฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลาน 2 หัว

นี่คือฟอสซิลซึ่งถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในประเทศจีน โดยมันเป็นตัวอ่อนของสัตว์เลื้อยคลานคอยาว ขนาดราวๆ 7 เซนติเมตร ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ในช่วง120-125 ล้านปีก่อน

พวกมันถือเป็นตัวอย่างผิดปกติทางพันธุกรรมที่หายากเอามากๆ และมันก็ถือว่าเป็นความโชคดีแบบสุดๆ เลยทีเดียวที่เราสามารถพบฟอสซิลสัตว์โบราณที่มีความผิดปกติในรูปแบบนี้ได้

 

ที่มา boredpanda


Posted

in

,

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น