วิจัยพบ ยิ่งสัตว์ส่วนใหญ่ คลุกคลีกับมนุษย์ ยิ่งสูญเสีย “สัญชาตญาณ” ต่อต้านนักล่าไปด้วย


เคยรู้สึกกันบ้างไหม? เวลาที่เราเก็บสัตว์มาเลี้ยงใหม่ๆ พวกมันจะกลัวอะไรต่ออะไรไปหมด แต่พอมันอยู่กับเราไปสักพัก แม้แต่สัตว์อย่างหนูก็อาจจะกล้าพอที่จะเผชิญหน้ากับแมวได้โดยไม่วิ่งหนี

เรื่องที่เกิดขึ้นนี้อาจจะถือเป็นได้ทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดีแล้วแต่เจ้าของแต่ละคน อย่างไรก็ตามอ้างอิงจากงานวิจัยวารสาร PLOS Biology แล้ว ในทางวิทยาศาสตร์เรื่องที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นปัญหากว่าที่คิดก็ได้

 

 

เพราะนี่หมายความว่าสัตว์ส่วนใหญ่ในโลกนั้น ล้วนแต่จะเสียสัญชาตญาณในการ “กลัวนักล่าไป” หากว่ามัน มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์เป็นเวลานานนั่นเอง

งานวิจัยในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการที่นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลของสัตว์ 102 ชนิดที่มักถูกเลี้ยงในบ้าน อาศัยในพื้นสที่เมือง หรือถูกรักษาไว้ในสวนสัตว์ จากงานวิจัยในอดีต 173

โดยสัตว์เหล่านี้ ส่วนมากจะเป็นสัตว์ที่ หากอยู่ในป่าจะถูกมองว่าเป็นสัตว์ที่มีการระวังตัวสูง ไม่ว่าจะจากลักษณะการวิวัฒนาการมากว่าล้านปี หรืออุปนิสัยแบบเฉพาะของพวกมัน

 

 

อย่างไรก็ตามในงานวิจัยนักวิทยาศาสตร์กลับพบว่าสัตว์ในแห่งที่อยู่ 3 อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้น กลับมักจะมีพฤติกรรมที่ต่างออกไปจากสัตว์ประเภทเดียวกันในป่ามาก

เพราะพวกมันไม่เพียงแต่จะไม่กลัวมนุษย์อีกต่อไป แต่ในหลายๆ ครั้ง เมื่อเวลาผ่านไปได้ไม่นาน พวกมันยังเสียความกลัวต่อสัตว์นักล่าที่เคยเป็นสัตว์ตัวฉกาจในป่ามาก่อนด้วย

“ในขณะที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการได้รับการคุ้มครองโดยมนุษย์ ทำให้ความสามารถในการต่อต้านสัตว์นักล่าลดลง แต่เรากลับยังไม่เคยทราบเลยว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเร็วเพียงใด และมีความสำคัญแค่ไหน”

คุณ Benjamin Geffroy หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว

 

 

โดยเขาอธิบายเพิ่มเติมว่ายิ่งสัตว์มีความใกล้เคียงกับการเป็นสัตว์เลี้ยงมากแค่ไหน พวกมันจะยิ่งเสียความกลัวต่อสัตว์นักล่าไปเร็วเท่านั้น

ในขณะที่สัตว์ป่ามักจะใช้เวลานานกว่าสัตว์เลี้ยงราวๆ 3 เท่าได้กว่าที่จะเสียความสามารถในการต่อต้านนักล่าไป

นี่นับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าสนใจเลยทีเดียว เพราะแม้การเสียความสามารถในการต่อต้านนักล่าดังกล่าวจะเป็นถือว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่เลี่ยงได้ยาก

แต่ในขณะเดียวกันมันก็สร้างความเป็นไปได้ที่ว่าสัตว์เหล่านี้ หลายต่อหลายต่อจะไม่สามารถปรับตัวกลับเข้าป่าได้หากถูกปล่อยจากมนุษย์

 

 

ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงเสนอว่าเราอาจจะต้องมีวิธีการบางอย่างเพื่อให้สัตว์สามารถ “แสดงพฤติกรรมต่อต้านสัตว์นักล่า” อีกครั้ง ก่อนที่เราจะสามารถบ่อยมันกลับเข้าป่าไป เพื่อให้มันมีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ที่มา iflscience และ plos

Advertisement


Like it? Share with your friends!

0 Comments