กลายเป็นข้อกฎหมายที่กำลังถูกพูดถึงไปทั่วโลก หลังจากที่ทางประเทศซูดาน (สาธารณรัฐซูดาน) ได้ออกประกาศ “ห้ามไม่ให้มีการทำสุหนัตหญิง” นับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา
Progress! #Sudan enters a new era for girls' rights with the criminalization of #FGM! Please RT this great news!
With thanks to the donors of @GPtoEndFGM who supported Sudan reach this milestone.@UKinSudan @SwedeninSD @_UnfpaSudan @WHOSudan@EU_Sudan v/@unicefsudan pic.twitter.com/qW53FMwF6j
— Kent Page (@KentPage) May 1, 2020
การทำสุหนัตหญิงหรือการขลิบอวัยวะเพศหญิงนั้น ถือว่าเป็นประเพณีโบราณเก่าแก่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในหลายๆ วัฒนธรรม จุดประสงค์และวิธีการอาจแตกต่างกันไป แต่ก็จะมีความคล้ายคลึงกับการทำสุหนัตชาย
จากข้อมูลของ สหประชาชาติ (UN) กล่าวว่าผู้หญิงกว่า 87% ในซูดานต้องเข้ารับการทำสุหนัตในช่วงวัย 14-49 ปี ด้วยความเชื่อที่ว่ามันคือความจำเป็นเพื่อการแต่งงานมีคู่สมรส
วิธีการของพวกเขาก็มักจะเป็นการขลิบส่วนบริเวณแคมนอก แคมใน บางกลุ่มอาจถึงขั้นขลิบเอาคลิตอริสออกไปด้วย
คงแทบไม่ต้องจินตนาการเลยว่าพิธีการดังกล่าวนั้นจะสร้างความเจ็บปวดให้กับหญิงสาวได้มากขนาดไหน และที่สำคัญคือมันยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพบริเวณนั้นได้ เช่น อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ปัญหาการสืบพันธุ์ เป็นต้น
กลุ่มสิทธิสตรีทั่วโลกจึงต่างชื่นชมและเห็นด้วยกับข้อกฎหมายใหม่ที่ทางรัฐบาลของซูดานประกาศออกมา ซึ่งหากใครฝ่าฝืนหรือต่อให้ทำในสถานประกอบการทางการแพทย์ ถึงอย่างนั้นก็ต้องรับโทษจำคุก 3 ปี และเสียค่าปรับ
ทุกคนต่างมองว่านี่คือการต่อต้านความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง
ขณะเดียวกัน หลายคนก็มองว่ามันคงเป็นเรื่องยากที่ทุกคนจะคล้อยตามไปกับข้อกฎหมายใหม่ที่ว่านี้ได้ เพราะอย่างที่บอกว่าการทำสุหนัตหญิงนั้นสอดคล้องกับความเชื่อและเป็นประเพณีวัฒนธรรมอันเก่าแก่
แต่ถึงอย่างนั้น พวกเขาก็ยังมองว่านี่คือก้าวสำคัญของการเปลี่ยนแปลง เป็นการเปิดประตูเข้าสู่ยุคใหม่ พัฒนาและส่งเสริมสิทธิสตรีภายในประเทศที่ปัจจุบันยังคงไม่มากพอต่อที่ควรจะเป็น
Faiza Mohamed กรรมการบริหารองค์กรสิทธิมนุษยชน Equality Now ในแอฟริกา กล่าวว่า…
“การออกกฎหมายในซูดาน คือการปกป้องไม่ให้ผู้หญิงต้องทนทุกข์กับความทรมานที่เกิดขึ้น นี่คือก้าวสำคัญ ทว่าทางซูดานก็ต้องเผชิญกับความท้าทาย เพราะผู้คนยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องการทำสุหนัตหญิง”
จากข้อมูลยังระบุอีกว่า ผู้หญิงกว่า 200 ล้านคนทั่วโลกต้องเผชิญกับการทำสุหนัตหญิง เพราะฉะนั้นกฎหมายใหม่ในซูดานจึงเปรียบเสมือนตัวอย่างและจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น
เรียบเรียงโดย #เหมียวตะปู
ที่มา: TheTimes , TheNewYorkTimes , MiddleEastEye , Unilad
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น