กลายเป็นข่าวสะเทือนขวัญของคนทั่วโลกไปแล้ว สำหรับข่าวเหตุระเบิด ที่กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน โดยในปัจจุบันรัฐบาลของเลบานอน ก็ได้ออกมาเปิดเผยแล้วว่า
สิ่งที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ในครั้งนี้คือ “แอมโมเนียมไนเตรต” จำนวนมากที่ถูกเก็บรักษาอย่างไม่ปลอดภัย
อ่านมาถึงตรงนี้เชื่อว่าคงจะมีหลายคนไม่น้อย ที่เกิดสงสัยขึ้นมาว่าตกลงแล้วเจ้าแอมโมเนียมไนเตรตมันคืออะไรกันแน่ ทำไมจู่ๆ สารเคมีตัวนี้ถึงเกิดระบิดขึ้นมาได้
ในวันนี้เราจะไปหาคำตอบพร้อมๆ กันครับ…
แอมโมเนียมไนเตรตคืออะไร?
แอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) คือของแข็งผลึกสีขาวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีความสามารถละลายน้ำได้สูง โดยมันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในฐานะของดินประสิว
ตามปกติแล้วแอมโมเนียมไนเตรตมักจะถูกใช้ในวงการการเกษตรในฐานะปุ๋ย เนื่องจากมันผลิตได้ในราคาถูก
แต่ในขณะเดียวกันมันก็ถูกใช้งานเป็นส่วนประกอบระเบิดในด้านอุตสาหกรรมอย่างการทำเหมืองและการก่อสร้างในหลายๆ ประเทศเช่นกัน
แอมโมเนียมไนเตรตมาจากไหน?
แอมโมเนียมไนเตรตเดิมทีแล้วมีเหมืองขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่ทะเลทรายอาตากามาในชิลี
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสารตัวนี้สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ และเกือบๆ 100% ของ แอมโมเนียมไนเตรตในปัจจุบันก็เป็นของที่สังเคราะห์ขึ้นด้วย
ในกรณีของเลบานอน ทางรัฐบาลได้เปิดเผยออกมาว่าสารเคมีนี้ถูกเก็บไว้ที่โกดังเลบานอน ในปริมาณถึง 2750 ตัน และถูกเก็บมานานถึง 6 ปีแล้ว แม้จะยังไม่แน่ชัดว่าใครเอามันมาเก็บไว้
ทำไมแอมโมเนียมไนเตรตถึงระเบิดขึ้นได้?
ตามปกติแอมโมเนียมไนเตรตจะถูกจุดระเบิด โดยเชื้อเพลิงหรือตัวเร่งปฏิกิริยาภายนอก แต่ในบางกรณีสารตัวนี้ก็อาจจะเกิดระบิดขึ้นเองได้เหมือนกัน
นั่นเพราะแอมโมเนียมไนเตรตเป็น วัสดุที่มีการปล่อยความร้อนออกมาในขั้นตอนการสลายตัว
ดังนั้นหากมีแอมโมเนียมไนเตรตถูกเก็บไว้ด้วยกันในจำนวนมากๆ เป็นเวลานาน ความร้อนที่เกิดขึ้นก็อาจจะมากพอที่จะทำให้เกิดเพลิงได้
และเมื่อแอมโมเนียมไนเตรตถูกเผาไหม้ สารตัวนี้ก็จะทำให้เกิดก๊าซพิษ ออกซิเจน และก๊าซร้อน ซึ่งสองอย่างหลังก็เป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การระเบิดต่อไปพอดีเสียด้วย
ด้วยลักษณะของแอมโมเนียมไนเตรตเช่นนี้เองทำให้ ในปัจจุบันเลบานอน ยังไม่มีการตั้งสมมติฐานว่าเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นอุบัติเหตุ หรือ การโจมตี
อย่างไรก็ตาม นายมิเชล อูน ประธานาธิบดีแห่งเลบานอน ก็ได้ออกมาให้คำมั่นสัญญาว่า รัฐบาลจะหาตัวผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาลงโทษอย่างหนักให้จงได้
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น