CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

เครื่องบินบัญชาการทนต่อนิวเคลียร์ แพ้ภัยนกบินเข้าเครื่อง เสียหายไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท

เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ในระหว่างการบินทดสอบของ “E-6B Mercury” เครื่องบินบัญชาการซึ่งออกแบบมาให้ทนทานได้แม้แต่การโจมตีด้วยนิวเคลียร์ ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ประสบอุบัติเหตุรุนแรงจากนกเพียงแค่ตัวเดียว…

 

 

กองทัพเรือรายงานว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นที่เหนือนานฟ้าของรัฐแมรี่แลนด์ หลังจากที่มีนกไม่ทราบสายพันธุ์บินเข้าใส่เครื่องยนต์หนึ่งในสี่เครื่องของ E-6B Mercury จนทำให้เกิด “Class A mishap” (เหตุการณ์ที่มีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มีผู้เสียชีวิต หรือพิการตลอดชีวิต)

จากข้อมูลที่ออกมา อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างไร ส่วนเครื่องบินเองก็สามารถร่อนลงที่กองบินได้หลังจากนั้น แม้ว่าตัวเครื่องจะต้องมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่ถูกนกบินใส่ก็ตาม

“เครื่องยนต์ได้ถูกเปลี่ยน และตัวเครื่องบินเองก็ได้กลับมาประจำการแล้ว” คุณ Tim Boulay โฆษกประจำกองการบินทหารเรือกล่าว

 

 

นับว่าเป็น Class A mishap ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองในรอบปีนี้แล้วสำหรับเครื่องบิน E-6B Mercury โดยอุบัติเหตุครั้งก่อน เกิดขึ้นจากการที่ตัวเครื่องเกี่ยวติดกับโรงเก็บในรัฐโอคลาโฮมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

อ้างอิงจากทางกองทัพเครื่องบิน E-6B Mercury ที่เกิดเหตุนั้นเป็นเครื่องบิน Boeing 707 ที่ได้รับการดัดแปลงมาเพื่อเป็นศูนย์สั่งการและสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ ในกรณีที่เกิดสงครามนิวเคลียร์ และทนได้แม้แต่ EMP จากระเบิดนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าตัวเครื่องจะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อป้องกันนกแต่อย่างไร

 

 

ทั้งนี้เองแม้ว่านี่จะเป็นเหตุการณ์ที่ฟังแล้วไม่น่าเชื่ออยู่บ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วอุบัติเหตุที่เกิดจากนกนั้น เกิดขึ้นกับเครื่องบินของกองทัพบ่อยกว่าที่เราคิดมาก

เพราะทางกระทรวงกลาโหมได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่าในหนึ่งปี จะมีอุบัติเหตุจากสัตว์ป่ากับเครื่องบินของกองทัพโดยเฉลี่ยถึง 3,000 ครั้ง ในขณะที่เครื่องบินของพลเรือนพบกับอุบัติเหตุในรูปแบบใกล้เคียงกันโดยเฉลี่ย 2,300 ครั้ง

 

 

อาจจะบ่งบอกได้ว่าศัตรูที่น่ากลัวที่สุดของเครื่องบินนั้น คงจะไม่พ้นนกธรรมดาๆ นี่เอง

 

ที่มา livescience, military.com, navytimes


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น