เคยได้ยินเรื่องราวของชายชื่อ “ชาร์ล ไมลส์ แมนสัน” กันมาก่อนไหม เขาคืออาชญากรชาวอเมริกันผู้อยู่เบื้องหลังคดีการฆาตกรรมครั้งใหญ่ในปี 1969 ของกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่า “ครอบครัวแมนสัน” (Manson Family) ซึ่งเคยสร้างความสะพรึงกลัวให้กับชาวอเมริกันในยุค 60 จนเป็นที่จดจำมาจนถึงปัจจุบัน
ชาร์ล แมนสัน เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1934 ในซินซินเนติ โอไฮโอ โดยเป็นลูกนอกสมรสของแคธลีน แมดดอกซ์ และคนในพื้นที่ชื่อวอล์คเกอร์ เฮนเดอร์ สันสก็อตต์ ก่อนที่จะได้ชื่อมาจากพ่อเลี้ยง วิลเลียม ยูจีน แมนสันอีกทีหนึ่ง
ครอบครัวของชาร์ล แมนสันนั้นเรียกได้ว่าไม่ใช่ครอบครัวที่ดีเท่าไหร่นัก เพราะหลังจากที่แมนสันเกิดมาได้ไม่นาน วิลเลียมก็หย่ากับแคธลีน ทำให้แมนสันต้องใช้ชีวิตกับแม่ที่ติดเหล้าและขี้ขโมยในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีนัก
ชาร์ล แมนสัน ในตอนที่ได้อายุ 14 ปี
เมื่อเขาอายุได้ 5 ขวบ แคธลีนและลุงของเขาก็ถูกจับหลังจากออกปล้นโดยใช้ขวดซอสเป็นปืน ทำให้ เขาถูกส่งไปอยู่กับป้าอีกที โดยตลอดเวลาที่เขาเติบโตมานั้น แมนสันถูกบรรยายว่าเป็นเด็กที่ทั้งมีเสน่ห์และน่ากลัว ในบางครั้งเขาก็เล่นดนตรีที่ไพเราะ แต่ในบางครั้งเขาก็ขี้ขโมย ขี้โกหก และเป็นคนรุนแรง
แมนสันมีประวัติอาชญากรรมที่เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในตอนที่เขาอายุได้ 12 ขวบ โดยเป็นการแอบขโมยเงินจากร้านขายของชำ ก่อนที่จะเริ่มออกขโมยรถในตอนที่อายุได้ 16 ปี และก่อคดีอีกมากมายในช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น
ชาร์ล แมนสัน ในปี 1947
การกระทำเหล่านี้ทำให้เขาถูกจับเข้าคุกในปี 1959 และหลงใหลในวงเดอะบีเทิลส์ในช่วงเวลาที่อยู่ในคุก
ด้วยเหตุนี้เองในปี 1968 ราวๆ 1 ปีครั้งจากที่ออกจากคุก แมนสันจึงตัดสินใจตั้งร้านของตัวเองในแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่จะเริ่มรวบรวมผู้คน ที่ในอนาคตจะกลายเป็นครอบครัวแมนสัน ด้วยพลังของดนตรีที่เขาได้มาจากช่วงเวลาในคุก และยาเสพติด
แมนสันใช้ชีวิตแบบค่อนข้าง “ปกติ” เช่นนี้เรื่อยมาจนกระทั่งเขาอายุได้ 32 ซึ่งในเวลานั้นครอบครัวแมนสันได้หลงใหลในตัวแมนสันมากจนยอมทำทุกสิ่งที่เขาสั่ง และแมนสันเองก็โด่งดังจนมีโอกาสได้พบกับเดนนิส วิลสัน ผู้ที่มีส่วนทำให้แมนสันได้มีโอกาสช่วยงานวงเดอะบีเทิลส์ที่เขาหลงใหล
แมนสัน และหนึ่งในภรรยาของเขาในปี 1955
ในเวลานั้นเอง ที่แมนสันมักจะสั่งสอนครอบครัว ว่าในอนาคตอันใกล้จะมีสงครามวันสิ้นโลกระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำ ซึ่งคนในครอบครัวแมนสันจะหลบซ่อนจนการต่อสู้จบลง และกลับมาเป็นผู้นำฝ่ายที่ชนะ ตามคำทำนายที่เขาตั้งชื่อให้ว่า “Helter Skelter” จากชื่อเพลงของเดอะบีเทิลส์ ที่เขามีโอกาสได้ช่วยงาน
ความโด่งดัง และพลังในการชักจูงของแมนสัน ทำให้สมาชิกครอบครัวแมนสันจำนวนมากหลงชื่อว่าคำทำนายของเขานั้นเป็นความจริง ดังนั้นเมื่อที่แมนสันบอกให้สมาชิก ออกไปสร้างสถานการณ์เพื่อให้คำทำนายเป็นจริงเร็วขึ้น หลายๆ คนจึงทำตามเขาโดยที่ไม่ถามอะไรสักนิด
สมาชิกครอบครัวแมนสันที่ลอสแองเจลิส
วิธีการส่วนใหญ่ของครอบครัวแมนสันนั้นคือการสังหารคนขาวและป้ายความผิดให้คนดำ โดยหนึ่งในคดีสำคัญๆ ของพวกเขาก็ประกอบไปด้วยการทรมานและสังหาร “แกรี ฮินแมน” นักดนตรีซึ่งค่ายาเป็นงานเสริม ก่อนที่จะเอาเลือดทากำแพงเป็นสัญลักษณ์เพื่อป้ายความผิดให้กลุ่มเรียกร้องสิทธิคนผิวดำ
อย่างไรก็ตามหากจะพูดถึงคดีที่มีชื่อเสียงที่สุดของครอบครัวแมนสันในช่วงนั้น มันก็คงจะหนีไม่พ้นคดีชื่อดังอย่าง “การสังหารเทต” ในวันที่ 8 สิงหาคม 1969 แน่ๆ
ชารอน เทต หนึ่งในเหยื่อการสังหารโหดของครอบครัวแมนสัน
โดยคืนวันนั้น ครอบครัวแมนสันได้ทำการบุกเข้าไปยังแมนชั่นในเบเนดิกต์แคนยอน โดยแมนสันอ้างว่าพวกเขามีเป้าหมายในการสังหารเทอรี่ เมลเชอร์ผู้ผลิตแผ่นเสียงที่มีปัญหากันมาก่อน
อย่างไรก็ตามในเวลานั้นเมลเชอร์ได้ย้ายออกไปจากบ้านแล้ว ดังนั้นคนที่กลายเป็นเยื่อของครอบครัวแมนสันในเวลานั้นจึงกลายเป็นนักแสดงหญิง “ชารอน เทต” ซึ่งตอนนั้นกำลังท้องได้ 8 เดือนและคนอื่นๆ ในบ้านแทน ก่อนที่พวกเขาจะละเลงเลือดดาราสาวเป็นคำว่า “หมู” เพื่อใส่ความคนผิวสีตามปกติ
คดีฆาตกรรมส่วนมากที่เกิดขึ้นนั้น ถูกสืบสาวกลับไปถึงตัวแมนสันและครอบครัวได้ในเวลาราวๆ 1 เดือนต่อมา และในท้ายที่สุดตัวแมนสันเองก็ถูกสั่งประหารชีวิตโดยศาล (ซึ่งต่อมาลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต) ในที่สุด
แต่แม้ว่าแมนสันจะถูกจำคุกไปแล้วก็ตาม สมาชิกของครอบครัวแมนสันก็ใช่ว่าจะหยุดการกระทำสุดโหดไปในทันที เพราะพวกเขานั้นยังคงออกก่อคดีให้เห็นอยู่เป็นช่วงๆ จนกลายเป็นที่หวาดกลัวของผู้คนเป็นอย่างมาก โดยหนึ่งในอดีตสมาชิกอย่างลีนเนตต์ ฟรอมม์นั่น ถึงกับก่อเหตุลอบสังหารประธานาธิบดีในปี 1975 เลยทีเดียว
ลีนเนตต์ ฟรอมม์ หนึ่งในครอบครัวแมนสันผู้พยายามลอบสังหารประธานาธิบดี
(อ่านเรื่องราวของเธอได้ ที่นี่)
ส่วนตัวของแมนสันผู้เป็นต้นเรื่องทั้งหมดนั้น เขาได้ใช้ชีวิตอย่างสงบในห้องขังไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ที่ผ่านมา ด้วยวัย 83 ปีนั่นเอง
ที่มา allthatsinteresting และ britannica
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น