การริเริ่มไอเดียง่ายๆ อย่าง ‘สีทาบ้านทาอาคาร’ ที่อาจจะมาทดแทนการใช้งานเครื่องปรับอากาศเย็นๆ น่าจะเพ้อเจ้อไปหน่อย แต่สำหรับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดูนั้นมันสามารถทำให้เป็นจริงได้ ด้วยเทคโนโลยีสีระบายความร้อนด้วยรังสีตัวนี้
เหล่าวิศวกรมหาวิทยาลัยเพอร์ดูเพิ่งเปิดเผยเทคโนโลยรปฏิวัติสีขาวทาบ้าน โดยพวกเขากล่าวว่ามันสามารถทำให้พื้นผิวที่ทาสีลงไปเย็นกว่าอุณหภูมิโดยรอบ 7.8 เซลเซียส
เพราะตัวสีจะไม่ดูดแสงอาทิตย์ใดๆ แต่จะสะท้อนความร้อนออกไปจากพื้นผิวที่ทาสี ลองนึกภาพอย่างการเปลี่ยนพื้นใดๆ ให้กลายเป็นตู้เย็นได้ และไม่จำเป็นต้องเสียบปลั๊กเลย
“มันอาจเป็นเรื่องที่ขัดความรู้สึกกับการที่พื้นผิวที่โดนแดดโดยตรงกลับเย็นกว่าอุณหภูมิที่คุณสัมผัสได้ และสิ่งนี้คือสิ่งที่เราแสดงให้เห็นว่ามันเป็นไปได้ครับ” Xiulin Ruan ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดูกล่าว
จากผลการวิจัยระบุว่า สีทาบ้านสีขาวทั่วไปจะสะท้อนแสงแดดได้ 80%-90% และไม่สามารถลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่าสภาพโดยรอบได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีตัวใหม่นี้จะทำให้สีทาบ้านสะท้อนแสงแดดได้ 95.5% และแผ่ความร้อนออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภาพเปรียบเทียบการตรวจจับความร้อน ซ้ายคือสีทาบ้านสูตรใหม่ ขวาคือสีทาบ้านทั่วไป
พวกเขาใช้เวลาในการพัฒนาสีทาบ้านตัวใหม่ 6 ปี ทั้งคิดค้นและการทดสอบที่ผิดพลาดไปทั้งหมด จนได้สูตรสีทาบ้านสีขาวที่มีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนตและสารประกอบอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง
“เครื่องปรับอากาศของคุณจะทำงาน เมื่อแสงแดดกระทบหลังคากับกำแพงและเริ่มทำให้ภายในบ้านร้อนขึ้น สีทาบ้านตัวนี้คือการลดการใช้เครื่องปรับอากาศ
ด้วยการสะท้อนแสงแดดออกไปและไม่ทำให้ความร้อนก่อตัวขึ้นภายในบ้านของคุณ” Joseph Peoples นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลปริญญาเอกผู้ร่วมทำงานวิจัยชิ้นนี้กล่าว
แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นกับความร้อนที่ถูกสะท้อนออกไปจากพื้นผิวล่ะ? มันจะขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศรึเปล่า? คำตอบก็คือไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมันจะพุ่งออกไปนอกอวกาศแทนด้วยความเร็วเทียบเท่ากับแสง
“เราไม่ได้เคลื่อนย้ายความร้อนจากพื้นผิวสู่ชั้นบรรยากาศครับ เราเอามันไปทิ้งนอกโลกเลย เป็นอ่างเก็บความร้อนที่ไร้ขีดจำกัด” Xiangyu Li นักวิจัยหลังปริญญาเอกจาก MIT ที่ร่วมพัฒนาสีทาบ้านตัวนี้กล่าวทิ้งท้าย
ถ้าหากว่าสีตัวนี้สำเร็จและถูกนำมาใช้งาน ลองนึกภาพว่านำมาทาไปทั่วโลก ทั้งบนถนน หลังคา และรถยนต์อีกหลายๆ คัน มันก็อาจจะช่วยทำแก้ปัญหาโลกร้อนได้บ้างนะ…
ที่มา: purdue.edu
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น