CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

งานวิจัยจากจีนชี้ ไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อยอย่างน้อย 30 แบบแล้ว

มันเป็นเรื่องที่หลายๆ คนอาจจะรู้สึกตัวกันแล้ว ว่าในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 นั้น ไม่ได้มีเพียงมนุษย์ฝ่ายเดียวที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เพราะไวรัส “SARS-CoV-2” ที่ทำให้เกิดโรคร้ายนี้เองก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวมันเองขึ้นเช่นกัน และดูเหมือนว่ามันจะปรับตัวได้เร็วกว่าที่เราเคยคาดไว้ด้วย

นั่นเพราะเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมานี้เอง ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงในประเทศจีน ก็ได้มีการออกมาเปิดเผยในงานวิจัยชิ้นใหม่ว่า

 

 

จริงๆ แล้วในปัจจุบันไวรัส SARS-CoV-2 อาจมีการกลายพันธุ์ย่อยออกไปมากกว่า 30 สายพันธุ์แล้ว แถมในตัวเลขนี้ กว่าครึ่งก็เป็นสายพันธุ์ที่เราไม่เคยมีการตรวจสอบมาก่อนด้วย

ทีมนักวิจัยได้พบความจริงในข้อนี้ โดยบังเอิญ ในระหว่างทำการตลอดสอบไวรัสจากการสุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยในเมืองหางโจว สถานที่ซึ่งมีรายงานผู้ป่วยโรคโควิด-19 สูงถึง 1,264 ราย ภายใต้เป้าหมายในการหาความสามารถในการแอบเข้าไปในเซลล์และสังหารเซลล์ต่างๆ ของตัวไวรัส SARS-CoV-2

 

 

อ้างอิงจากรายงานที่ออกมา ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ (รวมถึงการที่ตัวงานวิจัยยังไม่ผ่านการพิชญพิจารณ์) ทีมนักวิจัยทีมนี้ ยังไม่สามารถยืนยันผลวิจัยของตัวเองได้ แต่กลับกับพวกเขากลับพบความจริงที่น่ากลัวอีกข้อในระหว่างการเก็บข้อมูลแทน

นั่นเพราะในระหว่างเก็บข้อมูล ทีมวิจัยได้พบว่าคนไข้ที่พวกเขาสุ่มตรวจนั้น มีไวรัส SARS-CoV-2 ในร่างกายที่แต่ต่างกันรวมๆ แล้วมากกว่า 30 รูปแบบ แถม 19 สายพันธุ์ที่พวกเขาค้นพบ ก็เป็นไวรัสสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ ที่ไม่เคยมีการค้นพบมาก่อนด้วย

 

 

นี่นับว่าเป็นการค้นพบที่ค่อนข้างน่ากลัวเลยทีเดียว เพราะผลที่ออกมานี้แสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่าบุคลากรทางการแพทย์ในหลายกลุ่มนั้น ยังประเมินความสามารถในการกลายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2 เอาไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก

โดยเฉพาะเมื่อที่ทีมวิจัยบอกว่าหนึ่งในไวรัสสายพันธุ์ย่อยที่พวกเขาพบบางสายพันธุ์ อาจสามารถสร้างสารสังหารเซลล์ได้เร็วว่าสายพันธุ์ที่อ่อนแอเกือบๆ 270 เท่าด้วย

 

 

“Sars-CoV-2 ได้รับการกลายพันธุ์ที่สามารถเปลี่ยนการก่อให้เกิดโรคได้อย่างมีนัยสำคัญแล้ว” คุณ Li Lanjuan ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว

“การพัฒนายาและวัคซีน แม้ว่าจะเป็นเรื่องเร่งด่วนมา แต่ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบของการกลายพันธุ์ที่สะสมเหล่านี้ด้วย เพื่อที่เราจะสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้”

 

ที่มา medrxiv, foxnews และ nypost


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น