CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นาซาเผยภาพ “แนวปะการังจักรวาล” ฉลองครบรอบ 30 ปี “กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล”

ย้อนกลับไปในวันที่ 24 เมษายน 1990 องค์การอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือที่เราคุณเคยกันในชื่อ “นาซา” ได้ทำการปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศชื่อ “ฮับเบิล” ขึ้นไปปฏิบัติการในห้วงอวกาศ และทำให้มันหนึ่งในอุปกรณ์สำรวจอวกาศ ที่ได้ชื่อว่าสำคัญที่สุดของมนุษย์ไป

 

 

ตลอด 30 ปี ในการทำงาน กล้องฮับเบิลนั้น ได้เก็บภาพอันงดงามของห้วงอวกาศที่ห่างไกลเอาไว้เป็นจำนวนมาก ถึงขนาดที่ว่า ไม่ว่าคุณจะเกิดในวันไหนของปี ในฐานข้อมูลของกล้องตัวนี้ ก็จะมีรูปถ่ายแบบเฉพาะเก็บไว้ให้คุณเลย

ดังนั้นเพื่อที่จะเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปี ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสุดขยันชิ้นนี้ แม้ล่าสุดนี้เอง ทางองค์การนาซาจึงได้เปิดเผยภาพถ่ายชิ้นใหม่ภาพล่าสุดจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ออกมาใช้พวกเราได้มีโอกาสชมกันอีกครั้ง

 

 

ภาพถ่ายในครั้งนี้ มีชื่อว่า “Cosmic reef” หรือ “แนวปะการังจักรวาล” โดยมันเป็นภาพของเนบิวลา “NGC 2014” (ด้านขวา) และเนบิวลา “NGC 2020” (ด้านซ้าย) ซึ่งเนบิวลาทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับกาแล็กซีทางช้างเผือก และอยู่ห่างจากโลกไปราวๆ 163,000 ปีแสงอีกที

อ้างอิงจากข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยออกมาเนบิวลาทั้งสองนี้ ถูกล้อมไว้ด้วย “เมฆแมกเจลแลนใหญ่” (LMC) โดยพวกมันมีมวลประมาณ 5% ของกาแล็กซีทางช้างเผือก

พวกมันมีความสามารถในการเป็นแหล่งกำเนิดของดวงดาว ที่อาจมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเราได้มากถึง 10 เท่า และเป็นที่อยู่ของดาวบางดวงที่สว่างกว่าดวงอาทิตย์อีกถึง 200,000 เท่า ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากจุดแสงที่มุมซ้ายล่างของภาพอีกที

 

 

ความสามารถเหล่านี้เอง ที่เป็นเหตุผลซึ่งทำให้ภาพถ่ายเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อว่าเป็น แนวปะการังจักรวาลไป เพราะทั้งสองแห่งที่เป็นแหล่งกำเนิดของดวงดาวนี้  เรียกได้ว่ามีความคล้ายกับแนวปะการังในมหาสมุทรที่เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นอย่างมาก

เพราะพวกมันนั้น เรียกได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดอันยิ่งใหญ่ ที่ซ่อนอยู่ในความลึกลับแห่งห้วงสมุทรหรืออวกาศ โดยที่มนุษย์แทบจะไม่มีโอกาสได้เห็นเลยนั่นเอง

 

ที่มา livescience, bbc และ foxnews


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น