CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นี่คือCritterpedia แอปบนมือถือ ที่จะช่วยคุณตรวจสอบว่าแมงมุม/งู อันตรายไหม ด้วยระบบ AI

เมื่อเรากล่าวถึงประเทศอย่างออสเตรเลีย ชื่อว่าหลายๆ คนก็คงจะเคยได้ยินชื่อเสียงกันมาบ้างว่าสัตว์ในประเทศนี้มันอันตรายขนาดไหน โดยเฉพาะแมงมุมและงูซึ่งอาจมีพิษทำให้คนตายได้ในเวลาสั้นๆ หากไม่ระวังให้ดี

 

 

แต่ในขณะเดียวกันมันก็ไม่ใช่ว่าแมงมุมแล้วงูทุกตัวในออสเตรเลียจะดุร้ายมีพิษและเป็นอันตรายแต่อย่างไร เพราะบางครั้ง สัตว์เหล่านี้ก็อาจจะแค่หน้าตาไม่เป็นมิตรเท่าไหร่เท่านั้นเอง

ดังนั้นเพื่อที่จะแก้ปัญหาเรื่องการแยกเยอะสัตว์อันตรายของผู้คน เมื่อล่าสุดนี้เอง สองสามีภรรยา Murray และ Nic Scarce จึงได้ตัดสินใจก่อตั้งบริษัท และออกแอปพลิเคชันตัวใหม่

เพื่อแยกแยะแมงมุมและงูที่ผู้ใช้พบว่าเป็นอันตรายกับมนุษย์หรือไม่ โดยอาศัยแค่ภาพถ่ายเท่านั้น!!

 

 

อ้างอิงจากคุณ Murray Scarce แอปพลิเคชันของพวกเขามีชื่อว่า “Critterpedia” โดยมีแรงบันดาลใจมาจากตอนที่แม่สะใภ้ของเขาเดินทางมาที่ออสเตรเลีย เธอราวกับเป็นแม่เหล็กดึงดูดงูและแมงมุมมีชื่อมาหาตัวเอง

ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาถูกถามอยู่เสมอว่าสัตว์ที่แม่สะใภ้เจออันตรายไหม และก็เป็นตอนนั้นเองที่พวกเขารู้ตัวว่าการแยกแยะสัตว์ร้ายที่พบออกในทันทีมันเป็นเรื่องสำคัญขนาดไหน

 

Nic (ซ้าย) และ Murray (ขวา) เจ้าของไอเดียแอป Critterpedia

 

ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจร่วมมือกับทีมงาน Data61 ของ CSIRO องค์กรวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียเพื่อสร้างแอปพลิเคชัน Critterpedia ขึ้น

โดยแอปของพวกเขามีที่จะใช้ระบบ AI เปรียบเทียบภาพถ่ายของสัตว์ที่ผู้ใช้พบ เข้ากับฐานข้อมูลของ Data61 ก่อนที่จะบอกผู้ใช้ว่าสัตว์ที่เห็นคือตัวอะไรและมีพิษหรือไม่

 

 

น่าเสียดายที่ ด้วยความที่สัตว์บางชนิดมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน Critterpedia จึงยังคงอยู่ในขั้นตอนเปิดให้ทดลองใช้งาน ที่รู้จักเพียงงูราว 170 สายพันธุ์และแมงมุมราว 2,000 ชนิดในออสเตรเลียเท่านั้น

ที่สำคัญการจะทำให้ AI ของ Critterpedia ทำงานได้ดีขึ้นตัวระบบก็ยังคงต้องการผู้ใช้และภาพถ่ายอีกเป็นจำนวนมากเพื่อฝึกฝนระบบอัลกอริทึมอยู่เสียด้วย

 

 

ดังนั้นกว่าที่ระบบจะพร้อมให้คนทั่วไปใช้งานอย่างเป็นทางการจริงๆ ทางบริษัทก็คาดไว้ว่าน่าจะเป็นในช่วงเดือน เมษายน ปี 2021 เลย

อย่างไรก็ตามหากว่าระบบนี้เป็นไปได้ด้วยดี คุณ Murray และ Nic ก็หวังเป็นอย่างมากว่าผลงานของพวกเขา พัฒนาจนกลายเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ทั่วโลกต่อไปในอนาคต

 

ที่มา iflscience, data61 และ 7news


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น