CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

วิจัยพบ มหาสมุทรอาจต้องใช้เวลากว่า 50 ปี เพื่อพื้นฟูความเสียหายจากเหมืองแร่ใต้สมุทร

ในช่วงเวลาแบบในปัจจุบัน มนุษย์เรานั้นมีความต้องการแร่อย่างทองแดง นิกเกิล และโคบอลต์เมาท์เพื่อไปใช้ในทางอุตสาหกรรมสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่บริษัททำเหมืองหลายๆ แห่งจะเริ่มตามหาแหล่งขุดแร่ใหม่ๆ ใต้ท้องทะเลอันกว้างใหญ่ของโลก

การกระทำในรูปแบบนี้ถูกเรียกกันว่าโครงการเหมืองแร่ใต้สมุทรหรือ “Deep Sea Mining” ซึ่งแม้ว่ามันจะนำมาซึ่งแร่สำคัญๆ ประมาณมหาศาล แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นการกระทำที่เหล่านักวิจัยหลายคนบอกว่าสามารถทำอันตรายเป็นทะเลเช่นกัน

 

 

ทีมนักวิจัยที่นำโดยคุณ Tobias Vonnahme แห่งสถาบันการศึกษาจุลชีววิทยาทางทะเล Max-Planck ในประเทศเยอรมนีเองก็เป็นหนึ่งในคนกลุ่มเหล่านั้น เพราะเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมานี้เอง พวกเขาก็เพิ่งจะออกมานำเสนอรายงานชิ้นใหม่ ที่มีรายละเอียดโดยสรุปว่า

มหาสมุทรนั้น อาจจะต้องใช้เวลานานกว่า 50 ปีเลยกว่าที่มันจะสามารถ ฟื้นฟูตัวเองจากความเสียหายที่มาจากการทำเหมืองของมนุษย์ได้

 

 

การวิจัยในครั้งนี้ เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในปี 1989 โดยในเวลานั้นนักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองการรบกวนและการทดลองปรับสภาพต่อพื้นมหาสมุทรหรือ “DISCOL”

พวกเขาทำการทดลองนี้ด้วยการไถและรบกวนตะกอนของพื้นที่กว้างเกือบ 9 เมตร ที่ระดับความลึก 4 กิโลเมตร เพื่อจำลองการขุดเหมืองแร่ใต้สมุทรที่มีเป้าหมายไปยังก้อนโพลีเมทัลลิก ก่อนจะสังเกตการณ์พื้นที่ดังกล่าวทั้งในด้านความเปลี่ยนแปลงของหน้าดิน และการใช้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์

 

 

จากการทดลองอันยาวนานในครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าร่องรอยจากการทำ DISCOL ของพวกเขานั้น จะยังสามารถเห็นได้จากภาพของโดรนสำรวจแม้เวลาผ่านไปกว่า 26 ปี เท่านั้นยังไม่พอตลอดช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ปริมาณจุลินทรีย์ที่พบในรอยขุดที่ว่า ยังถือว่าต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆ ถึง 30% ด้วย แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 2 ทศวรรษ

เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ทำให้นักวิจัยคาดว่ากว่าที่ปริมาณจุลินทรีย์ในที่แห่งนี้จะกลับมาเป็นปกตินั้น เราอาจจะต้องใช้เวลามากถึง 50 ปี เลยก็เป็นได้ เพราะแม้ในพื้นที่จะมีร่องรอยของการฟื้นตัว แต่ความเร็วในการฟื้นตัวดังกล่าวก็ดูจะช้าเอามากๆ ทั้งๆ ที่การทดลอง DISCOL นั้นส่งผลต่อพื้นที่น้อยมากเมื่อเทียบกับเหมืองแร่ใต้สมุทรจริงๆ

 

 

ดังนั้น ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นที่จะต้องออกมาเตือนด้วยความกังวลว่า “ถ้าการขุดเหมืองแร่ใต้สมุทรยังคงดำเนินไปเช่นนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทะเลก็อาจจะมากมายกว่าที่เราพบในการทดลองนี้อย่างเทียบกันไม่ได้เลย”

และหากพวกเราลองคิดดูว่าพื้นดินใต้ทะเลต้องใช้เวลากี่ล้านปีกว่าจะมีสภาพแบบทุกวันนี้แล้ว มันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าการฟื้นตัวของทะเลจากเหมืองร่ใต้สมุทรแบบเต็มรูปแบบ อาจจะเป็นอะไรที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อย่างน้อยก็ในช่วงชีวิตของเรา

 

ที่มา gizmodo และ sciencemag


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น