กำลังเป็นประเด็นร้อนที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้บนพื้นที่โซเชียลมีเดียไทย หลังจากที่มีการเปิดเผยผลงานผู้ชนะในการประกวดโครงการพัฒนาความยั่งยืนในหัวข้อ ‘จะไม่มีใครต้องหิวโหย’ ที่จัดโดยสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Royal Photographic Society of Thailand)
หัวข้อนี้เปิดรับผลงานในช่วง 10-16 พศจิกายน 2563
โจทย์ในครั้งนี้คือการตีความมุ่งเน้นการนำเสนอแนวคิด แนวทาง หรือกระบวนการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เกิดเกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
สำหรับผลงานที่ได้รับคัดเลือกมีทั้งหมด 13 รางวัล ได้แก่รางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 รองชนะเลิศอันดับ 2 รางวัลชมเชยอีก 10 รางวัล ทั้งนี้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ดำเนินการตัดสินเป็นที่เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว
และภาพถ่ายชนะเลิศในครั้งนี้เป็นของคุณจีรศักดิ์ ซุ่นไร้ ประกาศผ่านเพจเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564
ทว่าหลังจากมีการเปิดเผยภาพถ่ายที่ได้รับรางวัล โดยเฉพาะภาพรางวัลชนะเลิศกลับมีข้อกังขาจากชาวเน็ตบางส่วนที่เข้ามาวิจารณ์ทั้งในแง่ของเทคนิคการถ่ายภาพ และตัวบริบทของภาพถ่ายที่สะท้อนออกมา
.
ประเด็นที่หนึ่งคือการนำเสนอคอนเซ็ปท์สะท้อนถึงวลี ‘ในน้ำมีปลาในนามีข้าว’ ได้ออกมาอย่างเด่นชัดตั้งแต่แรกเห็น ซึ่งวลีดังกล่าวอาจต้องการสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อมองในบริบทของภาพมันให้ความรู้สึกขัดแย้งกัน
.
.
.
ชาวเน็ตจึงมองว่าทางตัวช่างภาพเองคงจะไม่เคยเกี่ยวข้าว (ฤดูเกี่ยวข้าวจะไม่มีน้ำ) เช่นเดียวกันกับคณะกรรมการที่ตัดสินมอบรางวัลชนะเลิศให้
นอกจากนั้นยังพูดกันถึงประเด็นของปลา ปลาที่เห็นเป็นปลาสอดอยู่ในน้ำกร่อย แล้วจะมาอยู่ในน้ำจืดบนผืนนาได้อย่างไร? นอกเสียจากจะเป็นภาพที่ตั้งใจตัดต่อให้มาอยู่รวมในภาพเดียวกัน
.
การเอ่ยถึงเทคนิคถ่ายภาพ
.
.
รวมถึงการเอ่ยถึงประเด็นเทคนิคการถ่ายภาพที่ดูแล้วเป็นการจงใจตัดต่อเช่นนี้ ถือว่าผิดกฎกิตาหรือไม่อย่างไร เพราะภาพถ่ายอื่นๆ อย่างเช่นรางวัลรองหรือรางวัลชมเชย ยังให้ความรู้สึกที่ตรงมากกว่า สะท้อนให้เห็นความจริงมากกว่า…
อย่างไรก็ดี มีหนึ่งคอมเมนท์อธิบายเทคนิคการถ่ายภาพแบบ ‘ซ้อน’ ไว้ได้อย่างน่าสนใจ
เรียบเรียงโดย #เหมียวเลเซอร์
ที่มา: @RPSThailand
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น