ลองจินตนาการว่าคุณเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานอยู่ที่ทวีปแอนตาร์กติกาดู คุณให้เวลาส่วนใหญ่ตะลุยผ่านอากาศอันหนาวเย็น เจาะรูบนน้ำแข็งเพื่อทำความเข้าใจดวงดาวของเราให้มากขึ้นแม้สักนิด แต่เมื่อคุณมีเวลาว่างเล็กน้อยหลังจากทำงานคุณจะใช้มันทำอะไร?
คำตอบของคำถามที่ว่านี้อาจจะมีความเป็นไปได้ที่หลากหลาย แต่หากเราอ้างอิงจากวิดีโอที่กำลังโด่งดังเป็นที่พูดถึงในปัจจุบันของนักวิทยาศาสตร์ในแอนตาร์กติกาเอง ดูเหมือนว่าสิ่งที่พวกเขาทำจะเป็นการปล่อยน้ำแข็งลงไปในรูที่พวกเขาเจาะขึ้น เพื่อให้มันมีเสียง “ปิ้วๆ” ราวกับเป็นเสียงเอฟเฟคหนังไซไฟไม่มีผิด
เรื่องราวสุดแปลกในเวลาว่างเหล่านี้ เป็นสิ่งกลุ่มนักธรณีวิทยาไอโซโทปของคุณ John Andrew Higgins ทำกันในเวลาว่าง โดยพวกเขาพบว่าเสียงที่เกิดขึ้นจากการทิ้งน้ำแข็งลงไปในรูลึก 137 เมตรนั้น มันช่างฟังแล้วมีความสุขแบบแปลกๆ จริงๆ
ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจที่จะถ่ายวิดีโอของมัน เพื่อมาแบ่งปันให้โลกรู้ผ่านโลกอินเทอร์เน็ตเสียเลย
วิดีโอการทิ้งน้ำแข็งของคุณ John Andrew Higgins (อย่าลืมเปิดเสียงล่ะ)
What does a 9 inch ice core sound like when dropped down a 450 foot hole? Like this! Credit to @peter_neff for the idea and @Scripps_Polar, @sciencejenna, @GeosciencesPU, @US_IceDrilling, and @paleosurface for the execution! pic.twitter.com/pW7LxKdbUB
— John Higgins (@blueicehiggins) February 7, 2020
เรื่องที่เกิดขึ้นนี้แน่นอนว่าย่อมต้องได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ที่มีโอกาสได้เข้าไปเห็นเป็นธรรมดา ซึ่งมันก็ทำให้วิดีโอดังกล่าวมียอดคนดูมากกว่า 3 ล้านคนไปแล้วในเวลาไม่กี่วัน และสร้างคำถามให้กับผู้คนมากมายว่าทำไมกัน การทิ้งน้ำแข็งลงรูมันถึงมีเสียงน่าสนใจแบบนี้ได้
ซึ่งสำหรับคำถามนี้ เชื่อหรือไม่ว่ามันเคยถูกตอบไปแล้วในวิดีโอของคุณ Peter Neff นักธรณีวิทยาน้ำแข็งอีกคนหนึ่งผู้ซึ่งเคยถ่ายวิดีโอการทิ้งน้ำแข็งคล้ายๆ กันไว้ตั้งแต่ในปี 2018
🔊🔊Sound ON🔊🔊
When #science is done, it's fun to drop ice down a 90 m deep borehole in an #Antarctic 🇦🇶 #glacier ❄️. So satisfying when it hits the bottom.
Happy hump day. pic.twitter.com/dQtLPWQi7T
— Peter Neff (@icy_pete) February 28, 2018
เขาได้อธิบายเอาไว้ว่าสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงแบบนี้นั้น มีปัจจัยสำคัญอยู่สองอย่างหลักๆ ซึ่งเราเรียกกันว่าปรากฏการณ์ดอพเพลอร์ของเสียง (Doppler Effect) และวิธีการที่เสียงเคลื่อนที่ผ่านรูน้ำแข็ง
ปรากฏการณ์ดอพเพลอร์ของเสียงเป็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อต้นกำเนิดของเสียงมีการเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้คนที่อยู่ในตำแหน่งต่างๆ กันของเสียงได้รับเสียงความถี่ต่างกัน ซึ่งเราจะพบได้บ่อยๆ เวลารถวิ่งผ่าน
โดยในกรณีนี้ นอกจากปรากฏการณ์ดอพเพลอร์ของเสียงแล้ว น้ำแข็งที่เป็นต้นกำเนิดของเสียงยังถูกทิ้งลงไปในหลุมที่มีลักษณะเป็นท่อแคบด้วย ทำให้ความถี่เสียงของมันนอกจากจะเดินทางขึ้นมาตรงๆ แล้ว ยังมีอีกหลายส่วนที่สะท้อนไปมาในหลุม
ภาพจำลองการสะท้อนไปมาของเสียงในหลุม ซึ่งสถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่นสร้างขึ้นจากข้อมูลของคุณ Peter Neff
และก็เป็นการสะท้อนของเสียงนี้เอง ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียง “ปิ้วๆ” และเสียงคล้ายหัวใจเต้นตามมา
ที่มา sciencealert, คุณ John Andrew Higgins และคุณ Peter Neff
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น