พบ “Duobrachium sparksae” สิ่งมีชีวิตใหม่ใต้ท้องทะเล ที่ดูยังไงก็บอลลูนจิ๋วชัดๆ


มันเป็นเรื่องที่หลายๆ คนคงจะทราบกันดี ว่าใต้ทะเลลึกของโลกนั้นเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความลึกลับ เพราะจนถึงปัจจุบันมนุษย์ก็ยังคงสำรวจทะเลไปได้แค่ 20% เท่านั้น

ดังนั้น ทุกครั้งที่เราสามารถค้นพบอะไรใหม่ๆ ได้ทะเล การค้นพบเหล่านั้น จึงมักจะเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญมากๆ และเปิดโลกใบใหม่ให้แก่มนุษย์เสมอ

 

 

อย่างเมื่อล่าสุดนี้เอง ทีมนักวิทยาศาสตร์จากองค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA) ก็เพิ่งจะออกมายืนยันการมีตัวตนอยู่ของสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกนี้มีชื่อว่า ‘Duobrachium sparksae’

สิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลังสายพันธุ์ใหม่ในกลุ่มเดียวกับหวีวุ้น ซึ่งมีสภาพคล้ายวุ้นก้อนกลมๆ มีสองหาง ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ลึกลงไปราวๆ 3,900 เมตรใต้ทะเลแล้ว

 

 

โดยเจ้า Duobrachium sparksae นั้น จริงๆ แล้วถูกค้นพบตัวต้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ในช่วงปี 2015 อย่างไรก็ตามด้วยความที่ว่าพวกมันมองเห็นได้ยากมากแถมยังมีขนาดไม่กี่มิลลิเมตร

ที่ผ่านมาการมีตัวตนของมันจึงยังคงขาดหลักฐาน และเราก็เพิ่งจะได้ภาพและข้อมูลอื่นๆ ของพวกมันจริงๆ ผ่านการใช้กล้องถ่ายใต้น้ำความละเอียดสูงเมื่อไม่นานมานี้เท่านั้น

 

 

อ้างอิงจากรายงานของนักวิทยาศาสตร์เจ้า Duobrachium sparksae แม้จะมีขนาดเล็กสุดๆ อย่างที่เห็นแต่มันถือว่าเป็นสัตว์กินเนื้อ ที่สามารถเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว แบบไม่น่าเชื่อ

“มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่สวยงามและมีเอกลักษณ์มาก” คุณ Mike Ford นักสมุทรศาสตร์กล่าว

“มันเคลื่อนที่เหมือนบอลลูนอากาศร้อนที่ติดอยู่กับพื้นทะเลด้วยหนวด 2 เส้นของมัน โดยรักษาระดับที่เฉพาะเจาะจงเหนือพื้นทะเล แต่เรื่องที่ว่ามันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ชีวิตติดกับก้นทะเลเลยหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่เรายังไม่อาจทราบได้”

 

 วิดีโอการค้นพบ Duobrachium sparksae จาก NOAA

 

นับว่าเป็นอะไรที่น่าเสียดายมากที่ด้วยข้อจำกัดในปัจจุบัน ข้อมูลที่เรามีเกี่ยวกับ Duobrachium sparksae จะยังคงถือว่ามีอยู่ค่อนข้างน้อย

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าการค้นพบตัวของมันอย่างเป็นทางการนั้น ก็น่าจะเปิดทางไปสู่ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสัตว์อันแสนลึกลับตัวนี้ ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้เป็นแน่

 

ที่มา theguardian, sciencealert

Advertisement


Like it? Share with your friends!

0 Comments