CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

วิจัยชี้ เมื่อ 30,000 ปีก่อน ที่แอฟริกาอาจมีการแลกลูกปัด คล้ายการกดไลก์ในโซเชียลมีเดีย

การกด “Like” ในปัจจุบันได้กลายเป็นวัฒนธรรมที่ ไม่ว่าใครก็คงจะทราบความหมายของมันเป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าการกระทำที่ที่เป็นรากฐานของสิ่งที่คล้ายการกด Like แท้จริงแล้วอาจจะมีมานานกว่าที่เราคิดก็ได้

นั่นเพราะเมื่อล่าสุดนี้เอง ในงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of the Sciences นักวิทยาศาสตร์ได้มีการออกมาบอกว่า เมื่อราวๆ 30,000 ปีก่อน มนุษย์เราก็มีแลกเปลี่ยนลูกปัดเปลือกไข่นกกระจอกเทศให้กัน ในรูปแบบคล้ายๆ การกด Like ให้อีกฝ่ายเช่นกัน

 

 

ข้อสรุปด้านบนนี้ มาจากการศึกษาเครื่องประดับโบราณจำนวนมาก ซึ่งถูกค้นพบในเลโซโท ประเทศเล็กๆที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้ และพบว่าในบรรดาโบราณวัตถุเหล่านี้ ลูกปัดเปลือกไข่นกกระจอกเทศนับว่าเป็นสิ่งที่มีการเดินทางในระยะทางที่ไกลที่สุดชิ้นหนึ่งเลย

อ้างอิงจากในงานวิจัยที่ออกมา นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้วิธีการตรวจสอบ อะตอม สตรอนเชียม ในเปลือกไข่นกกระจอกเทศเพื่อตามหาที่มาตั้งต้นของเปลือกไข่ดังกล่าว

 

 

โดยพวกเขาพบว่าเครื่องประดับส่วนใหญ่ที่ถูกพบในเลโซโทนั้น ล้วนแต่มีอะตอม สตรอนเชียม อยู่สูง ทั้งๆ ที่ในพื้นที่ประเทศซึ่งประกอบด้วยหินบะซอลเช่นนี้ ตามปกติแล้วควรจะมี อะตอม สตรอนเชียม ในระดับต่ำกว่านี้มาก ซึ่งนั่นหมายความว่าตัวลูกปัดที่เราพบนั้น กว่า 80% จะต้องเดินทางมาจากพื้นที่อื่นๆ

นักวิจัยเชื่อว่าลูกปัดที่เห็นนั้นบางส่วนจากจะเดินทางมาไกลถึง 1,000 กิโลเมตรจากจุดที่ผลิตขึ้นมาเลย เนื่องจากในประเทศเลโซโท และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ใช่สถานที่ที่น่าจะมีนกกระจอกเทศอยู่ได้

 

 

นี่นับว่าเป็นการค้นพบที่ค่อนข้างน่าสนใจเลย เพราะมันหมายความว่าแม้แต่ในอดีตเมื่อหลายหมื่นปีก่อน มนุษย์เราก็เริ่มที่จะมีการแลกเปลี่ยน ด้วยการเดินทางในระยะทางที่ห่างไกลให้เห็นแล้ว

ส่วนเหตุผลที่นักวิจัยและนักโบราณคดีมองว่าลูกปัดที่เห็นถูกใช้งานในฐานะอุปกรณ์ทางเครือข่ายสังคม มากกว่าที่จะเป็นสกุลเงินนั้น มาจากการที่ชนพื้นเมืองที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน จะมีการมอบลูกปัดเปลือกไข่นกกระจอกเทศในรูปแบบเดียวกันนี้เพื่อเริ่มหรือสานต่อความสัมพันธ์ต่อชนพื้นเมืองกลุ่มอื่นๆ หรือผู้มาเยือน

 

 

โดยชนพื้นเมืองอย่างที่อาศัยอยู่ในทางตอนใต้ของทะเลทราย Kalahari จะเรียกการมอบลูกปัดพวกนี้ว่า “hxaro” ซึ่งมีความหมายดังเดิมว่า “การจุดประกายและการประสานสัมพันธ์ภายในและระหว่างชุมชน” นั่นเอง

 

ที่มา foxnews, thetimes และ albanyherald


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น