CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทย์พบ ช้างจะโศกเศร้า และมีการไว้ทุกข์ ต่อความตายช้างอื่นๆ แม้ไม่ได้สนิทกัน

มันเป็นเรื่องที่เราทราบกันมานานแล้วว่าช้างเป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ฉลาดที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ดังนั้นในหลายๆ ครั้งนักวิทยาศาสตร์จึงมักจะมีการค้นพบอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ออกมาให้เห็นอยู่เสมอ

 

 

และภายในงานวิจัยชิ้นใหม่ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Primates นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสวนสัตว์เพื่อการอนุรักษ์ซานดิเอโก ก็ได้ค้นพบเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเจ้าสัตว์ขนาดใหญ่เหล่านี้อีกครั้ง เมื่อพวกเขาพบว่า

ช้างนั้นแท้จริงแล้วจะมีการอาลัยไปกับช้างที่ตาย แม้ว่าพวกมันจะไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้คิดกันมาก่อนเลยก็ตาม

 

 

ความจริงในข้อนี้ ถูกค้นพบจากการที่นักวิทยาศาสตร์ออกสังเกตการณ์ซากช้างป่า 32 ตัว จากแหล่งที่อยู่ช้างสำคัญ 12 แห่งทั่วแอฟริกา

พวกเขาพบว่าเมื่อช้างแต่ละตัวมาพบซากช้างที่ตายไป พวกมันแทบจะทั้งหมดจะมีการแตะและสำรวจซากช้าง ก่อนที่จะมีการ “แสดงความเศร้า” ที่ต่างๆ กันไปไม่ว่าจะเป็นการร้อง หรือพยายามยก พลิก และลากซากช้างในกรณีที่ช้างตัวดังกล่าวตายไปได้ไม่นาน

 

 

คุณ Shifra Goldenberg ผู้เขียนหลักของงานวิจัย อธิบายสิ่งที่พวกเขาเห็นว่า “แรงจูงใจพื้นฐานทำที่ให้ช้างมีพฤติกรรมแบบที่เราเห็นนั้น เป็นอะไรที่ยากจะระบุได้ แต่มันก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่าแรงจูงใจดังกล่าวจะต่างกันไปตามช้างแต่ละตัว”

เขายกตัวอย่างพฤติกรรมดังกล่าวว่า ในกรณีที่ช้างไม่สนิท กับช้างที่ตายไปมากนัก เราอาจจะเห็นช้าง สำรวจและแสดงความสนใจแก่ซากช้างเงียบๆ แม้ว่าช้างดังกล่าวจะตายไปเป็นเวลานานแล้ว ราวกับกำลังไว้ทุกข์

 

 

แต่ในกรณีที่ช้างสนิทกับช้างที่ตายไปมากๆ ช้างตัวดังกล่าววนเวียนกลับมาที่ซากช้างอยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่ลูกช้างตัวเมียตัวหนึ่งมีการปล่อยของเหลวสีดำจากกลีบขมับ (อาการคล้ายการตกมัน) เมื่ออยู่ใกล้ซากช้างผู้เป็นแม่ ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่รุนแรงทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ

 

 

“การที่ได้เห็นช้างมีปฏิสัมพันธ์กับช้างที่ตายไปเช่นนี้ ทำให้เรารู้สึกเย็นสันหลังวาบเลย” คุณ George Wittemyer จากมูลนิธิ Save the Elephants กล่าว “พฤติกรรมเหล่านี้มันแสดงให้เห็นถึงระดับความรู้สึกที่ลึกซึ้งและซับซ้อนของช้างได้เป็นอย่างดี”

“นี่เป็นหนึ่งในแง่มุมที่งดงามของช้างที่เราสังเกตเห็น แต่ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์จริงๆ”

 

ที่มา Primates, foxnews, semanticscholar และ dailymail


Posted

in

,

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น