ย้อนกลับไปในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ในประเทศบอตสวานาได้เกิดเหตุการณ์สุดน่าเศร้าขึ้น เมืองมีช้างป่ากว่า 350 ตัวถูกพบในสภาพไร้วิญญาณ ทางตอนเหนือของประเทศ
(อ่านรายละเอียดเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ที่ ช้างจำนวนหลักร้อยล้มตายต่อเนื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ ในบริเวณตอนเหนือบอตสวานา)
ในเวลานั้น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้สันนิษฐานการตายของช้างเหล่านี้ว่า น่าจะมาจากความแห้งแล้งเนื่องจาก กว่า 70% ของช้างที่ตายมักจะอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณแอ่งน้ำ
แต่ล่าสุดนี้เอง ดูเหมือนว่าเจ้าหน้าที่จะพบสาเหตุจริงๆ ของความตายครั้งนี้เข้าให้แล้ว และมันก็ไม่ได้มาจากความแห้งแล้ง แต่เป็นสารพิษเสียด้วย
อ้างอิงจากรัฐบาลบอตสวานา ที่การดำเนินการหาความจริงในครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างค่อนข้างเชื่องช้า เป็นเพราะในช่วงเกิดเหตุ การเก็บตัวอย่างช้างที่ตายไปไม่สามารถทำได้จากสถานการณ์ไวรัสระบาด
อย่างไรก็ตาม เมื่อนักวิทยาศาสตร์มีโอกาสได้เข้าไปตรวจสอบแหล่งน้ำจำนวนหนึ่งซึ่งมีช้างตายอยู่ใกล้ๆ พวกเขาก็พบว่าในแหล่งน้ำเหล่านั้น มักจะมีสารพิษประเภทนิวโรทอกซินปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งสารพิษเหล่านี้ก็มาจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่เรารู้จักกันในชื่อ “สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน” หรือ “ไซยาโนแบคทีเรีย” อีกที
“การทดสอบล่าสุดของเราพบว่าสารพิษต่อเซลล์ประสาท จากไซยาโนแบคทีเรียเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการตายของช้างเหล่านี้” คุณ Mmadi Reuben เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์แห่งอุทยานแห่งชาติบอตสวานากล่าว
“อย่างไรก็ตามเรายังมีคำถามอีกมากมายที่ต้องการคำตอบ เช่นทำไมมีแต่ช้างเท่านั้นที่ตาย และทำไมช้างที่ตายต้องอยู่บริเวณนั้นเท่านั้น”
จากข้อมูลของงานวิจัยในอดีต สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินนั้น การสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารจากแสงแดด ทำให้พวกมันเจริญเติบโตได้ดีในฤดูร้อน
โดยในปัจจุบันสาหร่ายพิษประเทศนี้กำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้พวกมันขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้นกว่าที่เคยเป็น และทำให้น้ำหลายแห่งเป็นพิษ
ในกรณีของประเทศบอตสวานา เป็นไปได้ว่าช้างป่าที่ตายไปจะรับพิษของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเข้าไปเป็นปริมาณมากจากการที่พวกมันลงไปอาบน้ำในแห่งน้ำที่มีพิษ
อย่างไรก็ตามแนวคิดในจุดนี้ ในปัจจุบันยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานจากข้อมูลที่เรามีเท่านั้น
และกว่าที่เราจะยืนยันความตายของช้างทั้งหมดได้อย่างชัดเจน นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงต้องรอผลการตรวจสอบชิ้นเนื้อ ซึ่งกำลังจัดทำอยู่ในห้องปฏิบัติการของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และแอฟริกาใต้ต่อไปก่อนอยู่ดี
ที่มา livescience, theguardian
Advertisement
0 Comments