CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

งานวิจัยใหม่พบ การฝืนยิ้มอาจช่วยให้เรามองโลกในแง่บวกขึ้น แม้ไม่ได้ยิ้มจากใจก็ตาม

เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะต้องเคยพบกับช่วงเวลาที่อะไรอะไรก็ดูจะเลวร้ายไปหมด จนไม่รู้จะทำอย่างไรนอกจากฝืนยิ้มสู้กันมาบ้าง แม้ว่าเราจะไม่สามารถบอกได้ว่ารอยยิ้มนั้นช่วยอะไรเราได้หรือไม่

แต่เชื่อกันหรือไม่ว่าการยิ้มแม้แต่จะเป็นการฝืนทำนั้น ในความเป็นจริงแล้วอาจจะช่วยเราได้มากกว่าที่คิดก็เป็นได้

 

 

นั่นเพราะจากงานวิจัยชิ้นใหม่ล่าสุดของออสเตรเลีย นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการพิสูจน์มาแล้วว่า คนเราจะสามารถทำให้ตัวเองมีความคิดในแง่บวกเพิ่มขึ้นได้โดยอาศัยการยิ้ม

แม้ว่ารอยยิ้มนั้นจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการฝืนทำก็ตาม

ภายในงานวิจัยชิ้นใหม่ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Experimental Psychology นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองให้อาสาสมัครสองกลุ่มประเมินการแสดงออกทางสีหน้าและการเคลื่อนไหวของผู้อื่น

โดยอาสาสมัครที่กล่าวมานี้ กลุ่มหนึ่งจะถูกวางปากกาไว้ระหว่างฟัน ซึ่งเป็นการบังคับให้อาสาสมัครต้องยิ้ม ในขณะที่อีกกลุ่มไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ

 

 

พวกเขาพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วอาสาสมัครกลุ่มที่ถูกวางปากกาไว้ระหว่างฟัน จะมองการแสดงออกทางสีหน้าของคนอื่นไปในทางที่ดีมากขึ้น

พวกเขามักจะมีเกณฑ์การให้คะแนนใบหน้าที่มีความสุขง่ายกว่า กลุ่มคนที่ไม่มีปากกาในปากมาก ในขณะที่ด้านการประเมินการเคลื่อนไหวเอง กลุ่มที่ถูกบังคับให้ยิ้มก็มักจะมองผู้อื่นมีความสุขมากกว่าปกติเช่นกัน

งานวิจัยนี้ขัดแย้งกับงานวิจัยในปี 2016 แบบตรงๆ แต่ในขณะเดียวกันมันก็สอดคล้องกับงานวิจัยอีกชิ้นจากปี 1988 เช่นกัน

โดยนักวิทยาศาสตร์บอกว่าที่เป็นเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าจะเกิดจากการที่เมื่อกล้ามเนื้อเราเคลื่อนไหวราวกับว่ามีความสุข สมองส่วน Amygdala ศูนย์กลางอารมณ์จะถูกกระตุ้นตามไปด้วย

เหตุการณ์เช่นนี้จะทำให้สมองปล่อยสารสื่อประสาทที่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดสภาวะความคิดในแง่บวกออกมา ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เรามีความสุขขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เราคิดว่าทุกสิ่งที่อยู่รอบๆ มีความสุขไปด้วย

 

 

“เมื่อกล้ามเนื้อของคุณบอกว่าคุณมีความสุข คุณจะมีแนวโน้มที่จะมองโลกรอบตัวคุณในทางบวกตามไปด้วย” คุณ Marmolejo-Ramos หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว

“ในทางสุขภาพจิตการค้นพบนี้ถือว่าน่าสนใจมาก หากเราสามารถหลอกให้สมองรับรู้สิ่งเร้าที่เรียกว่า ความสุข เราก็อาจจะสามารถใช้กลไกนี้เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตได้ในอนาคตเลย”

 

ที่มา iflscience และ hogrefe


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น