CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

“จี้ห้อยคอรูปองคชาต” เครื่องรางในยุคโรมันโบราณ กับความเชื่อว่า “ขับไล่โรคภัยไข้เจ็บได้”

ที่เราจะพาเพื่อนๆ ไปชมกันนี้ถือว่าเป็น “เครื่องรางของขลัง” จากอดีตกาลกว่า 2,000 ปีก่อน และรูปลักษณ์หน้าตาของมันนั้นก็ถูกทำออกมาให้มีลักษณะเหมือนกับอวัยวะที่ผู้ชายทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอีกด้วย…

เรากำลังพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า Fascinus (หรือ Fascinum) เครื่องรางเวทมนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีหน้าตาเหมือนกับ “อวัยวะเพศชาย” ตามความเชื่อที่ว่าสิ่งนี้สามารถรักษาและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้?!

 

ตัวอย่างลักษณะหน้าตาของ Fascinus

 

เครื่องรางดังกล่าวถูกพบได้ทั่วแหล่งโบราณสถานในประเทศอิตาลี ตลอดจนไปถึงประเทศอิสราเอล ซึ่งลักษณะหน้าตาที่ดูเหมือนกับองคชาตของผู้ชายนี้ก็ถือว่าเกิดจากความตั้งใจของผู้ที่สร้างมันขึ้นมา

Anthony Phillip Corbeil นักโบราณคดีผู้ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมในยุคโรมันโบราณ กล่าวว่า…

“ตามความเชื่อในยุคนั้น องคชาตของผู้ชายคือสิ่งที่เต็มไปด้วยพลังงานแรงขับทางเพศ และโยงไปถึงเรื่องของการสืบพันธุ์ การให้กำเนิด”

 

 

เมื่อผู้คนมองว่ามันมีพลังพิเศษ เครื่องรางชิ้นนี้จึงได้ถือกำเนิดขึ้นโดยที่พ่อแม่ในยุคนั้นก็นิยมหามาให้ลูกน้อยวัยแบเบาะห้อยคอเอาไว้ ด้วยความเชื่อที่ว่ามันจะสามารถรักษาและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บของพวกเขาได้

ส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกเขาเชื่ออย่างนั้นก็เพราะว่า ตามประวัติศาสตร์แล้วในยุคจักรวรรดิโรมัน เด็กๆ กว่าครึ่งในยุคนั้นมักจะเสียชีวิตตอนอายุไม่เกิน 5 ขวบ

ไม่ใช่เพียงแค่นั้น เพราะสำหรับเด็กผู้ชาย หรือหนุ่มๆ ทั่วไป การมีเครื่องรางชิ้นนี้ห้อยคอเอาไว้ยังถือเป็นสัญลักษณ์ในการสร้างจุดยืนทางสังคม ต่อให้เป็นทาส แต่ถ้าหากมีสิ่งนี้ห้อยคอก็จะดูเป็นทาสที่อยู่เหนือทาสคนอื่นๆ

 

กลายเป็นเครื่องรางที่ผู้คนจำนวนมากนิยมนำมาห้อยคอเอาไว้

 

นอกเหนือจากการนำมาห้อยคอแล้ว เครื่องรางชนิดนี้ก็นิยมถูกนำไปห้อยอยู่ภายในบ้าน โดยหากสังเกตดูก็จะพบว่าเครื่องรางบางชิ้นจะมีเหมือนเป็น “ปีก” โผล่ออกมาด้วย

ซึ่งปีกที่เห็นนั้น เป็นดั่งสัญลักษณ์ของพลังแห่งทวยเทพ กล่าวคือเครื่องรางชิ้นนี้จึงไม่ได้ถูกเชื่อแค่ว่าสามารถต่อสู้กับโรคภัยได้ แต่พวกเขายังเชื่อด้วยว่ามันสามารถป้องกันอันตรายจากภูติผีปีศาจได้ด้วยนั่นเอง

 

.

.

เรียบเรียงโดย #เหมียวตะปู

ที่มา: AtlasObscura , Academia , LadBible


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น