CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

งานวิจัยเผย ในปากฉลามเสือจำนวนมากที่เกาะตาฮีตี มีตะขอตกปลาเกี่ยวค้างไว้อยู่

นับว่าเป็นข่าวที่น่าใจหายของเหล่านักอนุรักษ์เลยก็ว่าได้ เมื่อล่าสุดนี้เองภายในงานวิจัยทางการประมงที่หมู่เกาะเฟรนช์พอลินีเชีย (ตาฮีตี) นักสำรวจได้พบกับความจริงที่ว่าในปัจจุบันมีตะขอตกปลาจำนวนมากอย่างน่ากลัว หลงเหลืออยู่ในปากของปลานักล่าใต้ท้องทะเล

 

 

ข้อมูลในจุดนี้ เป็นผลลัพธ์ที่สืบเนื่องมาจากการที่ทีมสำรวจพบว่า กว่า 38% ของฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier) ในพื้นที่เกาะ ล้วนแต่มีร่องรอยการเคยถูกเกี่ยวโดยตะขอตกปลาทางการประมงมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบแผลเป็น หรือยังคงมีตัวตะขอเกี่ยวอยู่ที่ปากหรือในร่างกายแม้ในปัจจุบัน

อ้างอิงจากข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยออกมา ตะขอตกปลาที่เกี่ยวอยู่กับฉลามเหล่านี้ โดยมากแล้วจะมาจากจุดดักจับปลาที่ชื่อว่า “Longlines” เครือข่ายที่มีตะขอตกปลาหลายชนิดกลางทะเลซึ่งอาจจะอยู่บนผิวน้ำ กลางน้ำ หรือพื้นมหาสมุทรก็ได้

 

 

“Longlines มักจะถูกทิ้งไว้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นเวลาหลายชั่วโมง ก่อนที่จะมีการเข้ามาลากเก็บไปทีหลัง” Carl Meyer นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาย ผู้เขียนร่วมของงานวิจัยกล่าว

เดิมทีแล้วตะขอตกปลาที่ติดไว้ใน Longlines นั้น ออกแบบมาเพื่อจับปลาทางการประมง ซึ่งสำหรับในกรณีนี้ เป็นปลาในตระกูลปลาทูน่าและปลาดาบ อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเท่าไหร่ ที่ตะขอเหล่านี้ จะดึงดูดปลาอื่นๆ อย่างฉลามมาติดกับด้วย

 

 

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหา เพราะเมื่อฉลามเขามากินตะขอ นักจับปลาก็มักจะจำเป็นต้องตัดสายตะขอนั้นๆ ออกจาก Longlines ไปเลย ส่งผลให้ตัวตะขอมักจะติดคาปากของฉลามอยู่อย่างนั้น และอาจจะค้างอยู่ได้เป็นปีๆ หรือตลอดชีวิตเลย

น่าเสียดายที่ในปัจจุบัน เราจะยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าตะขอที่ติดไปกับปลาเหล่านี้ จะส่งผลเสียอย่างไรบ้างกับการใช้ชีวิตและสุขภาพของฉลามเสือ อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะส่งผลต่อการหาอาหาร ทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำความเสียหายต่ออวัยวะ หรือมีพิษกับฉลามได้

 

 

นี่นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเอามากๆ เพราะในปัจจุบันนั้น ฉลามสายพันธุ์นี้กำลังมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ จนเข้าสู่ภาวะ “ใกล้ถูกคุกคาม” (Near Threatened) แล้ว ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้เอง จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับความเข้าใจเชิงลึกในประเด็นการอนุรักษ์และการจัดการฉลามเหล่านี้ต่อไป

 

 

ที่มา bigislandnow, gizmodo, hawaii และ sciencedirect


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น