สำหรับอิโมจิตัวนี้ ? เพื่อนๆ คิดว่าจริงๆ แล้วมันคืออิโมจิที่สื่อถึงอะไร? (ระหว่างอิโมจิรูปพนมมือ, สวดภาวนาหรือเป็นรูปคนเอามือมาแตะกันเพื่อทำไฮไฟฟ์กันแน่!?)
ซึ่งที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายๆ คนคงคิดว่าเจ้าอิโมจิตัวดังกล่าวนั้นเป็นอีโมจิพนมมือ ที่มีความหมายถึงท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน, การขอบคุณ หรือใช้ในการสวดภาวนา (สำหรับคนไทยอาจจะเอาไปใช้แทนการสวัสดีได้อีกด้วย)
อย่างไรก็ตาม หลายปีที่ผ่านมานี้ก็มีหลายคนที่ออกมาให้ข้อมูลว่าเจ้าอีโมจิดังกล่าวไม่ใช่รูปพนมมือ แต่เป็นอีโมจิที่คนนำมือมาแปะกันเพื่อทำไฮไฟฟ์ต่างหาก!!
“ฉันเพิ่งจะรู้ว่า ? คือการทำไฮไฟฟ์ ไม่ใช่สวดภาวนา”
I was this years old when I realized this 🙏is high five and not prayers. Which explains why so many text messages made zero sense to me and apologies if my responses seemed confusing.
— Dawn Walton (@CTVdawnwalton) April 22, 2019
ย้อนกลับไปช่วงปี 2012 ยังมีคนคิดว่ามันคือไฮไฟฟ์ ทั้งที่จริงแล้วคือสวดภาวนา!?
I believe that's a high five emoji “@p2thej115: That's just crazy. Another great singer has left us. Wow. RIP Whitney. 🙏”
— ian_d (@djid4) February 12, 2012
เมื่ออีโมจิกลายเป็นประเด็น วันนี้เราจึงทำการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อมาไขปริศนาว่าเจ้าอิโมจิ ? ตัวนี้ มันมีความหมายถึงอะไรกันแน่…
โดยเราได้ไปพบเจอมาว่าเจ้าอีโมจิต่างๆ นี้ถูกคิดค้นขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
ย้อนกลับไปในปี 1999 มีชายนามว่า “ชิเกตากะ คุริตะ” ซึ่งทำงานเป็นนักออกแบบให้กับบริษัท NTT DoCoMo เครือข่ายโทรศัพท์เจ้าดังของญี่ปุ่น
ต้องการสร้างบางสิ่งบางอย่างไว้สื่อสารกับผู้อื่น เพราะเชื่อว่าตัวอักษรเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถสื่อถึงความรู้สึกจริงๆ ของผู้ส่งข้อความได้
ด้วยเหตุนี้เองทำให้ NTT DoCoMo มีอิโมจิใช้อย่างเป็นทางการเป็นเจ้าแรกของโลก และเมื่อค้นหาดูก็พบว่าอิโมจิ ? ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2000
ซึ่งก็ยังคงดูไม่รู้เรื่องเท่าไหร่ อาจจะหมายถึงไฮไฟฟ์หรือพนมมือก็ได้ เพราะด้วยภาพที่เล็กและเป็นเพียงเม็ดสี แต่ประเด็นดังกล่าวก็มากระจ่างในปี 2003 เมื่อทางบริษัท au by KDDI ผู้ให้บริการโทรศัพท์อีกเจ้าหนึ่งของญี่ปุ่น ได้พัฒนาอิโมจิของตัวเองขึ้นมาบ้าง
พบว่าในส่วนของอีโมจิ ? นี้ทางค่ายโทรศัพท์เลือกใช้เป็นรูปของคนที่กำลังหลับตาและทำการ “พนมมือ” อย่างชัดเจน
ลักษณะโดยรวมของอิโมจิชุดพนมมือในยุคแรก
สำหรับการออกแบบอิโมจิพนมมือของทางบริษัทใหญ่ ทั้ง Google, Microsoft และ Samsung จะมาพร้อมกับตัวการ์ตูนทำท่าพนมมือ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยลักษณะท่าทางนี้จะเข้าใจได้ทั้งชาวตะวันตก ชาวคริสเตียน
ในส่วนของชาวญี่ปุ่นเองก็เข้าใจได้ ด้วยวัฒนธรรมการพนมมือพร้อมพูดคำว่า ‘จะทานแล้วนะ’ ก่อนรับประทานอาหาร และชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีวัฒนธรรมใช้การพนมมือแสดงเป็นกิริยาท่าทางต่างๆ เช่นเดียวกัน
การออกแบบอิโมจิจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำต่างๆ
แต่ถึงอย่างนั้นแล้ว ตั้งแต่ที่มีการปล่อยอิโมจิให้ออกมาใช้งาน ? ก็ยังคงถูกนำมาใช้ในความหมายไฮไฟฟ์
✋ High fives all around the world for coming together & taking action for gender equality! 🙏 #NationalHighFiveDay pic.twitter.com/8983Q9lBko
— UN Women (@UN_Women) April 18, 2019
.
Have we figured out if this is a high-five emoji?! 🙏 Today we're using it as one!#NationalHighFiveDay pic.twitter.com/V0SiwCiQMd
— Phoenix Suns (@Suns) April 18, 2019
สรุปแล้วก็คืออีโมจิที่หลายคนสงสัยนี้ ก็คืออิโมจิที่มีจุดประสงค์ทำขึ้นมาเพื่อสื่อถึงการทักทาย, ภาวนา, อ่อนน้อมถ่อมตน หรือแสดงความขอบคุณ
แต่ถึงแม้ว่ามันจะถูกนำมาใช้เพื่อสื่อถึงการทำไฮไฟฟ์ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะตัวอิโมจิเองก็เกิดมาเพื่อการสื่อสารตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับบริบทของข้อความที่ต้องการจะสื่อ และวัฒนธรรมของผู้ใช้งานนั่นเองจ้า ?
เรียบเรียงโดย #เหมียวโคบี้
ที่มา Emojipedia, Shigetaka Kurita
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น