พบ “คีตาญชลี ราวด์” นักวิทย์เยาวชนวัย 15 ผู้ได้รางวัล “เด็กแห่งปี” คนแรก จากนิตยสารไทม์


เคยได้ยินเรื่องราวของเด็กสาววัย 15 ปีชาวอินเดียอย่าง “คีตาญชลี ราวด์” ไหม?

นี่คือเด็กสาวผู้ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “เด็กแห่งปี” คนแรกโดยนิตยสารไทม์ เจ้าของผลงานการคิดค้นอุปกรณ์สมัยใหม่หลายชนิด ที่ออกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาคนรุ่นใหม่ ในโลกยุคปัจจุบัน

 

 

โดยพบงานสำคัญของของเธอนั้น ก็ประกอบไปด้วย

อุปกรณ์ตรวจจับสารตะกั่วซึ่งสามารถค้นหาสารตะกั่วในน้ำดื่ม ซึ่งเธอสร้างมันขึ้นตอนที่อายุแค่ 11 ปี!! ทำให้เธอเคยได้รับรางวัล Young Scientist Challenge ในปี 2017

โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งกันผ่านโลกไซเบอร์ (Cyberbully) อย่าง “Kindly” ซึ่งอาศัยระบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต

และเทคโนโลยี วินิจฉัยการติดยาโอปิออยด์ ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น โดยอ้างอิงจากผลิตโปรตีนของยีนตัวรับชื่อ “mu opioid” ด้วย

 

 

“ฉันไม่เหมือนนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่คุณเคยรู้จัก แบบคนแก่ที่มักจะผิวขาวซึ่งเห็นได้บ่อยๆ ในทีวี”

คีตาญชลี ราวด์ กล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์

“ในตอนนี้เป้าหมายของฉันเปลี่ยนไปอย่างมาก มันไม่ใช่แค่สร้างอุปกรณ์ของตัวเองเพื่อแก้ปัญหาของโลกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ทำเช่นเดียวกันด้วย”

 

 

ผลงานมากมายของเธอนี้เอง ทำให้มันไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ คีตาญชลี ราวด์ จะได้รับคัดเลือกจากเด็กอายุ 8-16 ปี มากความสามารถร่วมกว่า 5,000 ชีวิต ให้เป็นเด็กแห่งปีในครั้งนี้

และการรับรางวัลของเองก็คงจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว

“เชื่อเถอะว่าถ้าฉันทำได้ คุณก็ทำได้ และใครๆ ก็ทำได้เช่นกัน” คีตาญชลี ราวด์ กล่าวทิ้งท้าย

 

ที่มา nextshark และ boredpanda

Advertisement


Like it? Share with your friends!

0 Comments