CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

วิจัยพบในออสเตรเลีย แม้แต่ “พืช” ก็ทำเราดิ้นปางตายเป็นวันๆ ได้ ด้วยพิษแบบเดียวกับแมงมุม

ประเทศออสเตรเลีย เป็นสถานที่ที่ขึ้นเชื่อในเรื่องสัตว์อันตรายหลายชนิด เพราะไม่ว่าจะเป็น งู แมงมุม หอยทาก หรือแม้แต่แมงกะพรุน พวกมันก็ล้วนแต่อาจจะมีพิษมากพอที่จะทำให้คุณต้องเจ็บปวดทรมานหรือเสียชีวิตได้

แต่เชื่อกันหรือไม่ว่าในธรรมชาติอันโหดร้ายของออสเตรเลียนั้น แม้แต่ต้นไม้ก็อามารถทำให้คุณลงไปนอนดิ้นได้เช่นกัน

 

 

นั่นเพราะอ้างอิงจากทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ต้นไม้หนึ่งในประเทศแห่งนี้ มีความสามารถฉีดพิษแบบเดียวกับที่พบในงู และแมงป่องใส่คุณได้ด้วย!?

เจ้าต้นไม้เจ้าของความสามารถสุดสยองนี้มีชื่อว่า “Gympie-Gympie” ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ “กะลังตังช้าง” ที่พบในไทย และมีลักษณะเด่นอยู่ที่ใบและต้นของมันจะมีขนเล็กๆ เป็นจำนวนมากซ่อนอยู่

 

 

โดยเจ้าต้นตัวตนที่แท้จริงของขนเล็กๆ เหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นหนามเล็กๆ จำนวนมาก ซึ่งหากเจาะเข้าไปในผิวของมนุษย์ได้ หนามเหล่านี้จะปล่อยพิษเข้าใส่เหยื่อผู้โชคร้าย ในแทบจะทันที

และการปล่อยพิษในจุดนี้เองที่นำมาซึ่งปัญหาสำคัญของต้น Gympie-Gympie เพราะแทนที่มันจะปล่อยพิษ Formic acid ซึ่งทำให้ผู้โดนปวดแสบปวดร้อนเหมือนต้นไม้อื่นๆ ในวงศ์เดียวกัน

มันกลับปล่อย Neurotoxic proteins ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทชื่อ “Gympietides” ซึ่งมีลักษณะทางเคมีคล้ายกับพิษที่พบในแมงมุม และแมงป่องแทน

 

 

นั่นหมายความว่าการแตะใบไม้ของพืชชนิดนี้แม้เพียงเล็กน้อยจะกระตุ้นประสาทรับความเจ็บปวดของสิ่งมีชีวิตโดยตรง ส่งผลให้ผู้โชคร้ายต้องลงไปนอนดิ้นด้วยความเจ็บปวด และอาจต้องใช้เวลานานหลายวันเลยกว่าที่จะหาย

นับว่าเป็นโชคดีเล็กๆ ที่สายตัวนี้ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่การทำร้ายคนเท่านั้น

พราะอ้างอิงจากคุณ Irina Vetter เจ้าของงานวิจัย การศึกษาพิษตัวนี้อาจไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราทำยาแก้พิษของมันได้เท่านั้น แต่ในอนาคตมันยังอาจจะเป็นกุญแจสำคัญสู่การทำยารักษาอาการเจ็บปวดเรื้อรังบ้างชนิดได้ด้วย

 

 

“เราอาจจะสามารถออกแบบโมเลกุลที่ปิดกั้นสัญญาณความเจ็บปวดและทำให้ยาแก้ปวดดีขึ้นได้” คุณ Irina เสริม

แต่กว่าที่วันนั้นจะมาถึง การหลีกเลี่ยงที่จะไม่สัมผัสพืชชนิดนี้ก็คงจะเป็นความคิดที่ดี สำหรับคนที่ไม่อยากจะลงไปนอนดิ้นด้วยความเจ็บปวดไปอีกนานเลยเป็นแน่

 

ที่มา theconversation, iflscience, sciencemag และ sciencealert


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น