ลึกเข้าไปในอวกาศที่ยิ่งใหญ่ ภายในระบบดาวคู่ (ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์สองดวงขึ้นไป) ที่มีชื่อว่า “HD101584” นักวิทยาศาสตร์จากประเทศชิลีได้ทำการจับภาพเมฆก๊าซสีรุ้งสุดน่าทึ่งเอาไว้ได้ ด้วยความช่วยเหลือจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา
เมื่อทำการตรวจสอบภาพที่ได้มา นักดาราศาสตร์ก็เชื่อกันว่า เมฆที่พวกเขาจับภาพได้นั้น น่าจะเกิดขึ้นมาจากการพยายามกลืนกันเองของดาวฤกษ์สองดวง เมื่อราวๆ หลายร้อยปีก่อน
ดาวฤกษ์ทั้งสองดวงนี้ เป็นไปได้ว่าในอดีตจะเคยเป็นดาวที่โคจรคู่กัน โดยดาวฤกษ์ดวงหนึ่งได้กำลังขยายตัวขึ้นจากการที่มันกำลังจะสิ้นอายุขัย จนเริ่มที่จะกลืนกินดาวฤกษ์อีกดวง
ภาพถ่ายมุมกว้างของท้องฟ้าที่แสดงพื้นที่ใกล้เคียงของ HD101584
เป็นไปได้ว่าในช่วงเวลานี้เอง ที่ดาวฤกษ์อีกดวงที่มีมวลน้อยกว่าจะโคจรเข้าไปยังใจกลางของดาวฤกษ์ที่กำลังจะสิ้นอายุขัยแบบพอดิบพอดี ส่งผลให้ดาวที่ใหญ่กว่าสลัดเปลือกดาวชั้นนอกออกไปก่อนที่ควรจะเป็น หยุดการเติบโตไว้กล่าวคัน และทำให้เกิดเป็นกลุ่มก๊าซสีประหลาดอย่างที่เห็น
วิดีโอการซูมเข้าไปหา HD101584
อ้างอิงจากนักงานวิจัยในวารสาร Astronomy & Astrophysics นักดาราศาสตร์นั้นค้นพบ HD101584 มาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษแล้วก็จริงอยู่ แต่นี่เป็นครั้งแรกเลยที่พวกเขาสามารถจับภาพกลุ่มก๊าซที่งดงามขนาดนี้ได้ และการถ่ายภาพในครั้งนี้ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยหากขาดกล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมาไป
กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา
ดังนั้น ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเขาสามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกหลายๆ อย่าง จากภาพที่ได้มาและ HD101584 ต่อไปในอนาคต
นั่นเพราะภาพที่ออกมานี้ไม่เพียงแต่จะงดงามเท่านั้น แต่มันยังให้ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์บางส่วน ที่อาจจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ดวงอาทิตย์ของเราเองได้ด้วยนั่นเอง
ที่มา aanda, space และ sciencealert
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น