ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยชีวิตของคนเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ และด้วยการมาของเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ก็ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญที่ไม่ทำงานแล้วให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ และมันเป็นไปได้จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี
ทีมแพทย์อังกฤษกลายมาเป็นที่หนึ่งของโลกหลังจากการปลูกถ่ายหัวใจที่หยุดเต้นไปแล้วให้กับผู้ป่วยเด็กได้สำเร็จ
แพทย์ได้นำหัวใจจากผู้ป่วยสมองตายที่เสียชีวิตไปแล้ว ประสงค์บริจาคนำมาส่งต่อให้กับผู้ที่ต้องการรับหัวใจปลูกถ่าย ทว่าหัวใจดวงนี้จะหยุดเต้นหากไม่ได้รับการจำลองระบบเทียมของมนุษย์เพื่อนำมาใช้ปลูกถ่ายอวัยวะ
ทีมแพทย์จากโรงพยาบาล Royal Papworth Hospital ได้นำเครื่องมือตัวใหม่ที่มาช่วยจำลองระบบร่างกายมนุษย์ และทำให้หัวใจรับรู้และสัมผัสได้ถึงอวัยวะส่วนต่างๆ จนกระทั่งมันทำการสูบฉีดเลือดและออกซิเจนตามปกติ
อุปกรณ์ตัวนี้มีชื่อว่า TransMedics heart Organ Care System (OCS) เครื่องที่จะจำลองสภาวะร่างกายภายในของคน ช่วยหล่อเลี้ยงอวัยวะให้ทำงานได้ตามปกติ และเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย
การจำลองระบบร่างกายให้หัวใจยังคงทำงานได้เหมือนเดิม
https://twitter.com/RoyalPapworth/status/1363391420879536131
หนึ่งในผู้ป่วยเด็กทั้ง 6 รายที่ได้รับการปลูกถ่ายด้วยเทคนิคนี้คือน้อง Anna Hadley วัย 16 ปี หลังจากที่รอปลูกถ่ายหัวใจมานานถึง 2 ปี
หัวใจที่ได้รับบริจาคมาจากผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะสมองตายแต่หัวใจยังเต้นอยู่ แม้ว่าสมองจะไม่ทำงานต่อไปแล้วแต่หัวใจยังคงเต้นอยู่เพื่อให้ร่างกายและอวัยวะส่วนอื่นทำงานต่อไป
หากผู้ป่วยมีความประสงค์และทางครอบครัวไม่ขัดข้อง หัวใจที่ยังเต้นอยู่ในร่างกายคือปัจจัยสำคัญที่จะส่งต่อชีวิตให้กับคนอื่นๆ ได้
การพักฟื้นหลังจากปลูกถ่ายหัวใจเสร็จสิ้นไปแล้ว ร่างกายทำงานได้ตามปกติ
7/10 The first child to receive a heart transplant using this pioneering technique was Anna, then 15, who had been on the waiting list for about two years after collapsing during PE.
Five days after her transplant, she was walking and chatting on the ward at @GreatOrmondSt pic.twitter.com/R2fr0PEGrI
— Royal Papworth Hospital NHS FT 💙 (@RoyalPapworth) February 21, 2021
ก่อนหน้านี้เคยมีความพยายามในการนำหัวใจที่หยุดเต้นไปแล้วนำมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย ทว่ามันไม่เหมาะกับการนำมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยเนื่องจากอวัยวะได้รับความเสียหายจากการขาดออกซิเจนเมื่อหัวใจหยุดเต้น
แต่ด้วยการมาของกล่องหัวใจ Organ Care System นี้จึงทำให้ข้อจำกัดดังกล่าวหายไป และสามารถทำให้หัวใจกลับมาเต้นอีกครั้งได้ทันทีหลังจากที่ผ่าตัดนำออกมาจากร่างกายของผู้บริจาคแล้ว
อีกหนึ่งเคสของน้อง Freya Heddington ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการปลูกถ่ายหัวใจผ่านเครื่อง OCS
New heart-transplant surgery reduces waiting times for children's life-saving operations https://t.co/8t0QGAvzTX pic.twitter.com/18qtlvd0SR
— BBC News (UK) (@BBCNews) February 21, 2021
เมื่อชีพจรถูกปลุกขึ้นมาหัวใจก็จะทำงานอีกครั้ง รักษาอุณหภูมิให้พอเหมาะและมีเลือดของผู้บริจาคจำนวน 1.5 ลิตรสูบฉีดหล่อเลี้ยงเป็นวงจร อีกทั้งยังสามารถควบคุมจังหวะอัตราการเต้นของหัวใจให้เหมาะสมได้ด้วย
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น