CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

พิพิธภัณฑ์อังกฤษเผยข้อมูลใหม่ ชมกันชัดๆ ว่าช่วง “ล็อกดาวน์” ช่วยธรรมชาติฟื้นตัวขนาดไหน

ในช่วงที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกกำลังต้องเผชิญกับสถานการณ์ช่วง “ล็อกดาวน์” เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินข่าวมาบ้างว่า ในเวลานี้ธรรมชาติของโลกได้ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น

ดังนั้น เพื่อที่จะทำให้คนเข้าใจว่าธรรมชาติในช่วงล็อกดาวน์ฟื้นตัวขึ้นแค่ไหน เมื่อล่าสุดนี้เองพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของอังกฤษ จึงได้ตัดสินใจที่จะเปิดเผยข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยชุดใหม่

 

 

ซึ่งเปรียบเทียบสภาพของอังกฤษในด้านต่างๆ ระหว่างช่วงก่อนและหลังโรคโควิดระบาดออกมาให้เราได้ชมกัน โดยภาพดังกล่าวก็ประกอบไปด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้

 

การปล่อยมลพิษ

เมื่อเทียบกับในอดีต ในช่วงล็อกดาวน์ประเทศอังกฤษจะมีการใช้รถใช้ถนนน้อยลงกว่าครึ่ง ซึ่งทำให้ปริมาณก๊าซมลพิษในอากาศลดลงตามไปด้วย

โดยในบางเมืองปริมาณคาบอนไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ ได้ลดลงไปถึง 60% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีก่อนเลย

 

 

การสั่นสะเทือน

นอกจากเรื่องการปล่อยมลพิษแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่คนไม่ค่อยจะทราบกันว่าลดลงในช่วงโควิด-19 ก็คงจะไม่พ้นสั่นสะเทือนใต้พื้นดิน

โดยปัญหานี้ตามปกติจะเกิดขึ้นจากเสียงที่มนุษย์สร้างไม่ว่าจะเป็นรถ หรือการใช้ชีวิตและอาจส่งผลให้เครื่องเมื่อตรวจวัดต่างๆ อย่างเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวทำงานผิดพลาดได้

อย่างไรก็ตามในช่วงล็อกดาวน์การสั่นสะเทือนใต้พื้นดิน ในหลายๆ พื้นที่ของอังกฤษกลับลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ โดยในหลายๆ พื้นที่การสั่นสะเทือนได้ลดลงถึง 50% แม้จะมีในบางพื้นที่ผู้คนจะโหวกเหวกขึ้นก็ตาม

 

 

การเพิ่มขึ้นของสัตว์ป่า

อย่างไรก็ตามหากเราจะพูดถึงสิ่งที่ได้รับผลกระทบในด้านบวกจากช่วงล็อกดาวน์ แน่นอนว่าเราคงจะไม่พูดถึงการเพิ่มขึ้นของสัตว์ป่าของสัตว์ป่าไปไม่ได้เลย

นั่นเพราะในช่วงเวลานี้ เพียงแค่ในอังกฤษเราก็จะสามารถเห็นแมลงตระกูลผึ้ง ต่อ และมดเพิ่มขึ้นถึง 66% สัตว์ฟันแทะอย่างกระรอกเพิ่มขึ้น 33% สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกีบอย่างกวางอีก 13%

ที่สำคัญ เรายังพบผีเสื้อเพิ่มขึ้นมากถึง 97% และสัตว์อย่างค้างคาวก็ถูกพบบ่อยขึ้นถึง 143% เลยด้วย

 

 

นี่อาจจะถือว่าเป็นตัวเลขการเพิ่มขึ้นที่ค่นข้างน่าสนใจเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ก็ระบุมาด้วยว่าการพบเห็นสัตว์ข้างต้นนี้มีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ “การพบเห็นของมนุษย์” ซึ่งในเวลานั้นถูกบังคับให้อยู๋แต่ในบ้าน

ดังนั้น าหกเราเปรียบเทียบการมองเห็นระหว่างนกกระจอกที่มักพบได้ตามสวนหลังบ้านกับนกปากงอนซึ่งอาศัยตามแหล่งน้ำ ปริมาณการพบเห็นกกระจอกก็จะเพิ่มขึ้นในขณะที่เราเห็นนกปากงอนน้อยลงเช่นกัน

 

 

ถึงอย่างนั้นก็ตาม จากข้อมูลโดยรวมแล้วเราก็คงจะตัดสินกันได้ไม่ยากว่าการที่ล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นนั้น ได้ช่วยเหลือธรรมชาติในทางอ้อมมากกว่าที่เราคิด

เพราะไม่ว่าจะเป็น น้ำในคลองที่เวนิส กลับมาใสจนเห็นปลาแหวกว่าย หรือ มลพิษทางอากาศในจีนลดลง ก็ล้วนแต่แสดงให้เราเห็นได้เป็นอย่างดีว่า หนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยเหลือธรรมชาติ

จริงๆ แล้วอาจจะทำได้ง่ายๆ ด้วยการไม่ทำลายมันไปมากกว่านี้ก็เป็นได้

 

ที่มา Natural History Museum และ iflscience


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น