CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ประกาศรางวัล Ig Nobel 2019 ทั้ง 10 สาขา การศึกษาสุดเพี้ยน ชวนขบคิดเรื่องวิทยาศาสตร์

เพื่อนๆ อาจเคยได้ยินชื่อของรางวัลโนเบล (Nobel Prize) กันมาก่อน ซึ่งมันก็คือรางวัลที่มอบให้กับผลงานวิจัย หรือบุคคลที่มีความอัจฉริยะและความโดดเด่นในแต่ละสาขา สร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ

ในขณะเดียวกัน มันก็ยังมีอีกหนึ่งรางวัลประจำปีที่ดูจะตรงข้ามกับรางวัลโนเบลอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็คือรางวัลที่เรียกว่า ‘อิกโนเบล’ (Ig Nobel) รางวัลที่มอบให้กับงานวิจัยสุดเพี้ยน

 

ภาพจาก The Japan Times

 

รางวัลอิกโนเบลมีขึ้นเพื่อมอบให้กับงานวิจัยแปลกๆ การตั้งคำถามที่สร้างความสงสัยให้กับทุกคนว่า “พวกเขาคิดได้อย่างไรกัน”

โดยคณะกรรมการก็จะคัดสรรงานวิจัยที่เกิดขึ้นจริงในทั่วทุกมุมโลก แบ่งมอบรางวัลให้ในแต่ละสาขา ซึ่งพวกเขายังบอกอีกว่า…

“รางวัลอิกโนเบลนี้จะทำให้ทุกคนหัวเราะและเกิดความสงสัย ขบคิดในเรื่องวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงความสงสัยในสิ่งต่างๆ รอบตัวเราก็ด้วย”

และทั้งหมดนี้ก็คือรายชื่องานวิจัยที่ชนะรางวัลอิกโนเบลทั้ง 10 สาขา แต่ละอันมันจะแปลกประหลาดพิสดารมากขนาดไหน เราลองไปชมกันเล้ยยย

 

สาขาการแพทย์ – “พิซซ่าสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้หรือไม่?”

โดยนักวิจัย Silvano Gallus ผู้ศึกษาและเก็บตัวอย่างจากผู้ที่กินพิซซ่าในอิตาลี

ที่มา: Wiley Online Library

ภาพจาก The Independent

 

สาขาแพทยศาสตร์ – “นำเทคนิค Clicker Training สำหรับฝึกสัตว์ มาใช้ฝึกแพทย์ในการผ่าตัดศัลยกรรมกระดูกและข้อต่อ”

โดยนักวิจัย Karen Pryor และ Theresa McKeon ผู้นำเอาวิธีฝึกสัตว์ด้วยการคลิกอุปกรณ์ซึ่งเรียกว่า Clicker Training มาใช้ในการฝึกศัลยแพทย์

ที่มา: Springer Link

ภาพจาก K9Deb

 

สาขาชีววิทยา – “สนามแม่เหล็กส่งผลกระทบใดๆ ต่อพฤติกรรมของแมลงสาบหรือไม่?”

โดยนักวิจัย Ling-Jun Kong, Herbert Crepaz, Agnieszka Górecka, Aleksandra Urbanek, Rainer Dumke และ Tomasz Paterek

ที่มา: Nature

ภาพจาก Wall-E

 

สาขากายวิภาค – “วัดอุณหภูมิของถุงอัณฑะทั้ง 2 ข้างว่ามีความต่างกันหรือไม่?”

โดยนักวิจัย Roger Mieusset และ Bourras Bengoudifa ทำการศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิของถุงอัณฑะทั้ง 2 ข้าง ทั้งตอนสวมเสื้อผ้าและตอนถอดเสื้อผ้า

ที่มา: Oxford Academic

ภาพจาก Home Guides

 

สาขาเคมี – “เด็ก 5 ขวบผลิตน้ำลายออกมามากน้อยเพียงใดในแต่ละวัน”

โดยนักวิจัย Shigeru Watanabe, Mineko Ohnishi, Kaori Imai, Eiji Kawano และ Seiji Igarashi

ที่มา: Science Direct

ภาพจาก Salimetrics

 

สาขาวิศวกรรม – “ผลิตเครื่องเปลี่ยนผ้าอ้อมอัตโนมัติสำหรับเด็กทารก”

โดยนักวิจัย Iman Farahbakhsh ผู้คิดค้นและผู้พัฒนาเครื่องมือดังกล่าว

ที่มา: Google Patents

ภาพจาก Huggies

 

สาขาเศรษฐศาสตร์ – “ทดลองว่าธนบัตรของชาติไหนที่สามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียอันตรายได้ดีที่สุด”

โดยนักวิจัย Habip Gedik, Timothy A. Voss และ Andreas Voss

ที่มา: BioMed Central

ภาพจาก ThoughtCo

 

สาขาสันติภาพ – “วัดว่าเกาแก้คันตรงส่วนไหนฟินที่สุด ระหว่างปลายแขน ข้อเท้า และหลัง”

โดยนักวิจัย Ghada A. bin Saif, Alexandru Papoiu, Liliana Banari, Francis McGlone, Shawn G. Kwatra, Yiong-Huak Chan และ Gil Yosipovitch

ที่มา: Wiley Online Library

ภาพจาก Mother Nature Network

 

สาขาจิตวิทยา – “การคาบปากกาไว้ในปากจะทำให้อีกฝ่ายยิ้มออกมาได้หรือไม่?”

โดยนักวิจัย Fritz Strack ศึกษาเกี่ยวกับอารมณ์ของอีกฝ่าย ดูว่าพวกเขาจะมีความสุขหรือไม่ถ้าหากเราคาบปากกาเอาไว้ในปาก

ที่มา: APA PsycNet

ภาพจาก Positive Life

 

สาขาฟิสิกส์ – “ตัววอมแบตอึออกมาเป็นทรงสี่เหลี่ยมลูกเต๋าได้อย่างไร ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น”

โดยนักวิจัย Patricia Yang, Alexander Lee, Miles Chan, Alynn Martin, Ashley Edwards, Scott Carver และ David Hu

พวกเขาค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับอุจจาระของตัววอมแบต (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก มีกระเป๋าหน้าท้อง) ว่าทำไมถึงมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมลูกเต๋า

ที่มา: APS Physics

ภาพจาก New Scientist

 

เรียบเรียงโดย #เหมียวตะปู

ที่มา: Improbable Research


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น