เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียประกาศใช้มาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ปิดประเทศ ให้ประชาชนอยู่ในบ้านเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
นั่นทำให้การประกาศล็อกดาวน์ในครั้งนี้ กลายเป็นการล็อกดาวน์ครั้งใหญ่ที่สุดของโลก เพราะประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และกำลังอยู่ในช่วงที่ไวรัสกำลังเริ่มระบาด
จากการประกาศปิดล็อกดาวน์ทำให้ธุรกิจหลายๆ อย่างต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้เหล่าลูกจ้างต้องตกงาน และไม่มีรายได้
จากข้อมูลของรัฐบาลทราบว่า ในแต่ละปี จะมีแรงงานต่างถิ่นที่ย้ายมาจากเขตชนบทเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นกว่า 9 ล้านราย
ซึ่งรูปแบบงานก็จะประกอบไปด้วยงานตามไซต์ก่อสร้าง หรือโรงงาน แล้วก็ทำงานเก็บเงินส่งไปให้ทางบ้านใช้
แต่มาตรการล็อกดาวน์ส่งผลให้แรงงานเหล่านี้ขาดรายได้ ทำให้พวกเขาต้องเลือกแล้วว่า “จะกักตัวตามคำสั่งของรัฐบาล แล้วอดตาย” หรือ “จะหนีกลับไปอยู่ที่บ้าน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส”
สำนักข่าว CNN รายงานเรื่องราวของนาย Bablu Ehrewal วัย 24 ปี แรงงานต่างถิ่นที่เข้ามาทำงานเป็นพนักงานก่อสร้างห้างสรรพสินค้าในรัฐมัธยะประเทศ โดยได้รับค่าจ้างวันละ 500 รูปี (217 บาทโดยประมาณ)
แต่พอประกาศล็อกดาวน์ทำให้นาย Bablu ต้องหยุดงานในทันที และไม่ได้รับเงินค่าจ้าง ทำให้ต้องอาศัยอยู่ที่บ้านในสลัมร่วมกับคนงานก่อสร้างคนอื่นๆ อีกร่วม 70 ชีวิต
แล้วเขาจะเอารายได้จากไหนมาซื้ออาหารไว้กักตุน? จะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายค่าที่พัก? ค่าน้ำค่าไฟอีก? แน่นอนว่าทางเลือกที่จะ ‘กลับบ้าน’ ย่อมกลายเป็นทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่ เพราะอย่างน้อยในบ้านที่อยู่ในชนบท ค่าครองชีพมันไม่ได้สูงเท่าในเมืองหลวง
นั่งจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแรงงานต่างถิ่นในอินเดียถึงติดสินใจฝ่าฝืนคำสั่งล็อกดาวน์ พยายามหารถกลับไปอยู่ที่บ้านนอกกัน บางส่วนที่ไม่สามารถหารถได้ก็ถึงกับยอมเดินกลับแม้จะเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรเลยก็ตาม
อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลอินเดียได้ประกาศออกมาตรการเยียวยาเหล่าแรงงานต่างถิ่นแล้ว โดยตั้งงบไว้ทั้งหมดกว่า 1.7 ล้านล้านรูปี (ราว 720,000 ล้านบาท)
ทั้งการแจกเงินช่วยเหลือ การแจกจ่ายอาหารแบบส่งถึงบ้าน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในช่วงที่เหล่าคนงานต้องตกงาน
“เราได้จัดเตรียมรถขนส่งกว่า 12,000 คันไว้ในรัฐ เพื่อขนส่งผัก นม ยา และอาหารไปให้ถึงบ้าน”
“รวมถึงการตั้งจุดบริการการให้อาหารอย่างทั่วถึง จะไม่มีใครที่จะต้องอดอยาก และหิวกระหาย” นาย Yogi Adityanath ผู้ว่าการรัฐอุตรประเทศกล่าว
แม้จะมีการประกาศมาตรการช่วยเหลือออกมา แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้มันจะช้าไปเสียแล้ว…
ที่มา : cnn
Advertisement
0 Comments