CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

สแตนฟอร์ดวิเคราะห์ IO ประเทศไทย จุดเด่นคือทีมเวิร์ก แต่กลับขี้เกียจ ทำงานไร้ประสิทธิภาพ

นับว่าเป็นข่าวใหญ่อีกข่าวหนึ่งของโลกออนไลน์เลยก็ได้ได้ เมื่อในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2020 ทาง Twitter ออกแถลงการณ์ว่าได้ปิดบัญชีเครือข่ายปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือ IO

ซึ่งในบรรดานั้นได้มีบัญชีของประเทศไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพอยู่ถึง 926 แอคเคาท์ ทำให้เราเป็นประเทศที่มีจำนวนแอคเคาท์ IO อยู่มากที่สุดในบรรดาประเทศที่ถูกเปิดเผยมาเลย

 

https://www.facebook.com/CatDumbNews/posts/3564209080288522

 

แต่สงสัยกันหรือไม่ว่าตัวเลขที่ออกมานี้ นอกจากเรื่องปริมาณแล้ว ยังสะท้อนอะไรให้เราทราบกันอีกบ้าง นั่นเพราะเมื่อล่าสุดนี้เอง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดของ สหรัฐอเมริกา ได้นำข้อมูลของทางทวิตเตอร์ไปวิเคราะห์ออกมาว่า

ประเทศไทยนั้น มีระบบ IO ที่มีการประสานงานกันที่ดีมาก แต่กลับแทบไม่มีผลกระทบใดๆ เป็นชิ้นเป็นอันเลย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

 

 

อ้างอิงจากข้อมูลในบทวิเคราะห์ที่ออกมา แอคเคาท์ IO ของประเทศไทยนั้น ส่วนมากแล้วจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริมรัฐบาล และทหารเป็นหลัก

พวกเขามักจะใช้วิธีการโจมตีนักการเมืองฝั่งตรงข้าม และมีการทำงานสูงมากเป็นพิเศษในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดเหตุกราดยิงที่โคราช และในช่วงการยุบพรรคพรรคอนาคตใหม่

 

 

ต่างไปจากการทำงานของ IO ในคิวบาที่มักมุ่งเน้นไปที่การปลุกกระแสรักชาติด้วยการปลอมเป็นนักเรียนนักศึกษา ศาสตราจารย์ หรือหมอ และในซาอุดิอาราเบียซึ่งมุ่งเน้นไปที่การสวมรอยนักการเมืองอีกฝ่าย

แอคเคาท์ IO ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะถูกรายงานว่า สร้างขึ้นในช่วงเดือนมกราคม และทำงานไปจนถึงในช่วงวันที่ 2 เดือนมีนาคม ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่ทวิตเตอร์เริ่มแบนแอคเคาท์เหล่านี้

 

โดยตลอดช่วงเวลาการเคลื่อนไหว พวกเขาได้ทำการทวีตไปทั้งสิ้น 21,385 ครั้ง

ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับในซาอุดิอาราเบียซึ่งมีการทวีตไปทั้งสิ้น 220,254 ครั้ง แม้มีบัญชีแค่ 33 แอคเคาท์

หรือในคิวบาที่มีการทวีตสูงถึง 4,802,243 ครั้ง แม้มีบัญชีดำเนินการอยู่เพียง 526 แอคเคาท์

 

 

จำนวนบัญชีที่ออกมานี้ทำให้ทางสแตนฟอร์ดวิเคราะห์ว่าการทำงานของ IO ในประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องมีต้องมีการประสานงานที่ดีมากๆ

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามผลงานของพวกเขากลับ แทบไม่มีผลกระทบใดๆ เป็นชิ้นเป็นอันนัก

เนื่องจากบัญชีแทบทั้งหมดที่ออกมา มักจะไม่มีผู้ติดตามเลย ในขณะที่ตัวทวีตของแอคเคาท์เหล่านี้ ก็มักจะมียอดเอ็นเกจเมนต์แค่หลักหน่วย หรือไม่มีเลยด้วยซ้ำ

 

 

แน่นอนว่าจากข้อมูลที่ออกมา มันอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายๆ คนจะมองว่าการทำงานของ IO ในประเทศไทยนั้นไม่ประสบผลสำเร็จนัก แต่เราก็คงต้องขอกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยว่า ตัวเลขที่เราเห็นนั้นมาจากทางทวิตเตอร์เท่านั้น

ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงยังไม่สามารถบอกได้เลยว่า การทำงานของ IO ในโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง หรือแม้แต่พวกเขาประสบความสำเร็จหรือไม่

 

ที่มา stanford


Tags:

Comments

ใส่ความเห็น