CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

อิหร่านยอมรับ ปล่อยดาวเทียมพลาดอีกครั้ง หลังเครื่องยนต์มีกำลังไม่พอที่จะเข้าสู่วงโคจร

ย้อนกลับไปในช่วงวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา องค์กรอวกาศของประเทศอิหร่าน ต้องพบกับข่าวร้ายอีกครั้ง เมื่อความพยายาม ในการปล่อยดาวเทียม Zafar 1 ขึ้นสู่อวกาศของประเทศ ต้องพบลงด้วยความล้มเหลว

 

 

โดยดาวเทียมดวงนี้ เดิมทีแล้วมีกำหนดการที่จะถูกปล่อยขึ้นไปบนอวกาศพร้อมๆ กับจรวด Simorgh เมื่อเวลา 7:15 p.m. ตามเวลาในท้องถิ่น จากศูนย์การบินอวกาศอิหม่ามโคไมนิ

อ้างอิงจากการรายงานของคุณ  Ahmad Hosseini โฆษกของโครงการอวกาศแห่งกระทรวงกลาโหมอิหร่าน ความล้มเหลวในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่จรวดไต่ระดับขึ้นไปถึงจุดที่จะต้องมีการปล่อยดาวเทียม จากการที่ตัวเครื่องยนต์ของดาวเทียมเองไม่มีกำลังมากพอที่จะเดินทางเข้าสู่วงโคจรที่ต้องการได้

นี่นับว่าเป็นความผิดพลาดครั้งที่ 4 แล้วสำหรับการทดลองปล่อยจรวดของประเทศอิหร่าน โดยความผิดพลาดทั้งสามครั้งที่ผ่านมาล้วนแต่เกิดขึ้นเมื่อปี 2019 และหนึ่งในความล้มแหลวดังกล่าวก็ถูกจับภาพไว้ได้ โดยดาวเทียมของสหรัฐอเมริกาด้วย

 

ศูนย์การบินอวกาศอิหม่ามโคไมนิเมื่อปี 2019 หลังความผิดพลาดในการปล่อยดาวเทียมครั้งที่สามของประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าทางอิหร่านเองจะไม่ได้รู้สึกเสียหน้ากับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแต่อย่างไร นั่นเพราะเช่นเดียวกับความผิดพลาดในครั้งก่อน พวกเขาออกมายอมรับเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างกล้าหาญ และบอกว่าการปล่อยจรวดในครั้งนี้มันก็ไม่ต่างอะไรกับการทดลองวิทยาศาสตร์ซึ่งจะต้องมีการล้มเหลวบ้างเป็นธรรมดา

และแม้ว่าพวกเขาจะล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า แถมยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากต่างประเทศที่กังวลว่าโครงการนี้จะเป็นการพัฒนาขีปนาวุธโดยใช้โครงการอวกาศบังหน้าก็ตาม แต่ทางอิหร่านก็ยังคงยืนยันอยู่ดีว่าพวกเขาจะพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเหล่านี้ต่อไป

 

 

“วันนี้การเปิดตัวดาวเทียม “Zafar” อาจจะล้มเหลว เช่นเดียวกับโครงการทางวิทยาศาสตร์มากมายที่มีความล้มเหลวเกิดขึ้นได้… “ คุณ Azari Jahromi รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศของอิหร่านกล่าว “FALCON 9, Juno II, ATLAS, PROTON M และ ANTARES นี่คือตัวอย่างบางส่วนของการปล่อยยานที่ล้มเหลวในสหรัฐฯ””

“แต่พวกเราจะไม่หยุดอยู่แค่นี้ เราจะมีดาวเทียมที่ยิ่งใหญ่ของอิหร่านถูกปล่อยขึ้นไปอีกครั้งในเร็วๆ นี้แน่นอน”

 

ที่มา livescience, spaceflightnow


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น