CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักเคมีญี่ปุ่น ทดสอบหน้ากาก 3 ชนิด เทียบกันให้เห็นว่าแต่ละอันมีกันไวรัสได้ดีแค่ไหน

มันเป็นเรื่องที่เราทราบกันว่าการใส่หน้ากากนั้น แม้จะไม่ใช่การป้องกันไวรัสที่ได้ผล 100% แต่ก็จัดเป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงมาก และมีงานวิจัยรองรับแล้วว่าเป็นการป้องกันที่ได้ผลจริงๆ

 

 

ถึงอย่างนั้นก็ตามมันก็เป็นเรื่องที่เราทราบกันดีกว่าหน้ากากแต่ละชนิดนั้นไม่ใช่ว่าจะมีความสามารถในการป้องกันไวรัสที่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อเราเห็นหน้ากากทำเอง เชื่อว่าคงจะมีหลายคนไม่น้อยที่คิดสงสัยขึ้นมาว่าหน้ากากเหล่านั้น เป็นของที่ใช้การได้จริงๆ หรือไม่

ดังนั้นเพื่อที่จะตอบคำถามที่อาจจะคาอยู่ในใจหลายๆ คนข้อนี้ เมื่อล่าสุดนี้เอง คุณโทโมอะกิ โอคุดะ รองศาสตราจารย์ภาควิชาเคมีประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัยเคโอะ จึงได้ตัดสินใจที่จะทำการทดลองเปรียบเทียบหน้ากาก 3 แบบ เพื่อตอบคำถามนี้เสียเลย

 

 

เขาตัดสินใจที่จะใช้เทคโนโลยี เครื่องวิเคราะห์ขนาดของละอองอนุภาค (Scanning Mobility Particle SIZING) หรือ “SMPS” ในการวัดค่าการกรองอนุภาคในอากาศของหน้ากากทางการแพทย์ เข้ากับหน้ากากทำมือสองแบบ ซึ่งประกอบด้วย หน้ากากแบบที่ทำจากกระดาษ 3 แผ่น และหน้ากากที่ทำจากผ้าอีกที

อ้างอิงจากคุณโอคุดะ การทดลองในครั้งนี้ จะเป็นการเปรียบเทียบหลักๆ อยู่ที่ตัวเลขของจำนวนอนุภาคขนาด 10-150 นาโนเมตรต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตรหลังจากถูกกรองจากหน้ากาก

โดยเพื่อเป็นการเปรียบเทียบจำนวนอนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตรของห้องที่คุณโอคุดะใช้ทดลองจะมีค่าตั้งต้นอยู่ที่ราวๆ 6,000 หน่วย และตามปกติไวรัสจะมีขนาดตั้งแต่ 20-100 นาโนเมตร

 

 

1. “หน้ากากการแพทย์”

คุณโอคุดะ เริ่มจากทดลองในครั้งนี้โดยการมัดหน้ากากการแพทย์เข้ากับ ส่วนวัดอากาศของเครื่องในสภาพเพื่อจำลองคนที่ใส่หน้ากากนี้

โดยเขานั้นพบว่า เครื่อง SMPS ที่ถูกมัดด้วยหน้ากากการแพทย์ จะสามารถวัดปริมาณอนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตรได้ที่ 1,800 หน่อย ซึ่งนั่นหมายความว่าหน้ากากนี้จะสามารถกรองอนุภาคได้ถึง 60-70% เรียกได้ว่าเป็นตัวเลขที่ดีที่เราจะใช้ในการเปรียบเทียบเลย

 

 

2. “หน้ากากแบบทำจากกระดาษเช็ดมือ” (Paper towel)

คุณโอคุดะทำการทดลองต่อด้วยการมัดกระดาษเช็ดมือ3 แผ่นที่พับทบกันเข้ากับเครื่อง โดยอ้างอิงว่าเป็นหน้ากากทำมือที่มีจำนวนชั้นกรองกระดาษ 6 ชั้นอีกที

และเมื่อการทดลองดำเนินไป ผลการทดลองที่ออกมาก็นับว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก เพราะเครื่อง SMPS ที่ถูกมัดด้วยหน้ากากแบบทำจากกระดาษนี้ สามารถวัดปริมาณอนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตรได้แค่ประมาณ 1,000 หน่วยเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่าหน้ากากกระดาษกรองอนุภาคได้ถึง 80% ซึ่งดีกว่าหน้ากากการแพทย์เสียอีก

 

 

3. “หน้ากากแบบทำจากผ้า”

เมื่อเห็นผลการทดลองสองอันแรกคุณโอคุดะก็ตัดสินใจทำการทดลองอันที่สามต่อทันที โดยในคราวนี้เขาได้มัดผ้าเช็ดหน้าที่พับทบกันสามครั้งเพื่อเป็นตัวแทนของหน้ากากแบบทำจากผ้า 3 ชั้น

ซึ่งในคราวนี้แม้ผลการทดลองจะไม่ได้ออกมาดีเท่าหน้ากากแบบทำจากกระดาษ แต่เครื่อง SMPS ที่ถูกมัดด้วยหน้ากากแบบผ้าก็สามารถวัดปริมาณอนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตรได้แค่ 1,800 หน่วยเท่านั้น ซึ่งถือว่าพอๆ กับหน้ากากการแพทย์เลย

 

 

คุณโอคุดะ อธิบายถึงเหตุผลของการทดลองที่เกิดขึ้นนี้ว่า จริงอยู่ที่ตามปกติขนาดของไวรัสจะเล็กว่าช่องว่างระหว่างเนื้อผ้า แต่ด้วยความที่ว่าอนุภาคในอากาศไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเส้นตรงเหมือนแสงดังนั้นมันจึงมีโอกาสสูงที่จะถูกกรองโดยเส้นใยของหน้ากากไม่ว่าหน้ากากจะทำจากอะไร โดยเฉพาะในกรณีที่หน้ากากมีหลายชั้น

ดังนั้นไม่ว่าคุณจะใช้หน้ากากอะไรก็ตามในการป้องกันตัวก็ตาม มันก็ล้วนแต่จะลดความเป็นไปได้ของไวรัสที่จะเข้าสู่ร่างกายของคุณได้ทั้งสิ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามเราก็ไม่ควรลืมเช่นกันว่าในการใส่หน้ากาก ตัวหน้ากากเองก็จะเป็นสิ่งที่เข้าใกล้หน้าของเรามากที่สุดในเวลาเดียวกันด้วย

 

วิดีโอการทดลองของคุณโอคุดะ

 

ดังนั้นหากวัสดุที่ใช้ทำหน้ากากเป็นวัสดุที่ไม่ปลอดภัยแล้ว สิ่งที่จะทำร้ายตัวเราก็อาจจะเป็นหน้ากากที่เราหวังพึ่งเสียเองก็ได้

 

ที่มา soranews24 และ Tomoaki OKUDA


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น