CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

พบ “K2-315b” ดาวเคราะห์ “ค่าพาย” นอกระบบ ที่ใช้เวลาโคจรรอบดาวฤกษ์ 3.14 วัน

ห่างไกลออกไปจากโลกราวๆ 186 ปีแสง ลึกเข้าไปในห้วงอวกาศอันกว้างไกล ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่ง ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งกับวงการดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวนี้ มีชื่อว่า “K2-315b” โดยมันเป็นดาวที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ขนาดเล็ก และอาจไม่ได้มีทั้งสิ่งมีชีวิต หรือความเป็นไปได้ที่มนุษย์อาจจะอาศัยอยู่ได้

 

 

แต่มันกลับมีจุดเด่นสำคัญอยู่ที่ความเร็วในการโคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง ดันใช้เวลา 3.14 วัน พอๆ กับ “ค่าพาย” ของวงการคณิตศาสตร์ไม่มีผิด

“ทุกวันนี้ ไม่ว่าใครก็คงอยากค้นพบอะไรสนุกๆ บ้าง” คุณ Julien de Wit ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์โลกบรรยากาศและดาวเคราะห์จาก MIT นักวิจัยร่วมของงานวิจัยในครั้งนี้กล่าว

 

 

อ้างอิงจากงานวิจัยของเขาดาว K2-315b จริงๆ แล้วถูกพบตั้งแต่เมื่อปี 2017 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Kepler ของ NASA

อย่างไรก็ตามตัวตนและข้อมูลของส่วนใหญ่ของมันเพิ่งจะมาได้รับการยืนยันเมื่อปี 2020 ภายในการสำรวจด้วยกล้อง SPECULOOS จากภาคพื้นดินเท่านั้น

 

กล้อง SPECULOOS

 

ดาว K2-315b นั้น ถูกระบุในงานวิจัยใหม่นี้ไว้ว่า มีขนาดราวๆ 95% ของโลก ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่มันจะเป็นดาวหิน และจากระยะห่างจากดาวฤกษ์ อุณหภูมิของดาวดวงนี้ ก็น่าจะอยู่ที่ราวๆ  177 องศาเซลเซียสเลย

แน่นอนว่าด้วยอุณหภูมิที่ร้อนขนาดนี้ ไม่ว่าใครก็คงจะมองออกว่าดาวดวงนี้คงจะไม่เหมาะแก่การไปอยู่อาศัยเป็นแน่

 

 

อย่างไรก็ตามทาง MIT ระบุข้อมูลแบบขำๆ เดียวกับอุณหภูมิของดาวเคราะห์ค่าพายดวงนี้ไว้แบบติดตลกด้วยว่า

“เหมาะสมที่จะใช้อบพายเลย”

 

ที่มา livescience และ sciencealert


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น