ลึกเขาไปในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Queensland ดินแดนในประเทศออสเตรเลีย ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ (UNSW) ได้ทำการค้นพบร่องรอยการมีตัวต้นอยู่ของสิงโตสายพันธุ์ใหม่ ที่เคยมีชีวิตอยู่ในพื้นที่เมื่อราวๆ 23 ล้านปีก่อน
เจ้าสิงโตสายพันธุ์ใหม่นี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Lekaneleo roskellyae” โดยมันเป็นสิงโตมาร์ซูเพียล (marsupial lion) สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นยอดนักล่าในอดีต และมีจุดเด่นสำคัญอยู่ที่เขี้ยวอันแหลมคมของมัน
อย่างไรก็ตามต่างไปจากสิงโตมาร์ซูเพียลสายพันธุ์อื่นๆ ที่นักบรรพชีวิตเคยค้นพบ Lekaneleo นั้นถือว่าเป็นสิงโตมาร์ซูเพียลที่มีค่อนข้างขนาดเล็ก โดยมันมีขนาดตอนโตเต็มวัยแค่ราวๆ แมวเท่านั้น เทียบกับสิงโตมาร์ซูเพียลสายพันธุ์อื่นที่มีขนาดตัวเท่ากับสุนัขขนาดใหญ่
อ้างอิงจากทีมนักวิทยาศาสตร์ Lekaneleo roskellyae แท้จริงแล้วถูกพบมาค่อนข้างนานแล้ว อย่างไรก็ตามมันถูกเหล่ารวมกับสิงโตมาร์ซูเพียลสายพันธุ์ Priscileo roskellyae (ซึ่งถูกพบในปี 2017) ด้วยความที่ทั้งสองสายพันธุ์มีความต่างกันไม่มากนอกจากขนาดและรูปร่างบางส่วนของเขี้ยว
สิงโตมาร์ซูเพียลสายพันธุ์ Priscileo roskellyae
“พวกมันมีฟันกรามน้อยแบบยาวพิเศษ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายสลักเกลียว ซึ่งถือเป็นการปรับตัวหรืออวิวัฒนาการที่พิเศษที่สุดที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ที่กินเนื้อเป็นอาหารจะพัฒนาขึ้นเลยก็ว่าได้” คุณ Michael Archer นักบรรพชีวินวิทยาจาก UNSW กล่าว
“เขี้ยวของพวกมันมีความสามารถเจาะได้แม้แต่กระดูกเลย”
นักวิทยาศาสตร์ในระหว่างการละลายหินปูนที่เต็มไปด้วยกระดูกของสิงโตมาร์ซูเพียล
นับว่าเป็นอะไรที่น่าเสียดายมาก ที่สัตว์สายพันธุ์นี้ไม่มีลูกหลานหรือสัตว์ที่ใกล้เคียงกันหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันอีกแล้ว ดังนั้นในปัจจุบัน มันจึงเป็นเรื่องยากมากที่เราจะคาดเดาการใช้ชีวิตของเจ้าสิงโตจิ๋วเหล่านี้ได้
สิ่งเดียวที่พวกเราพอจะทราบก็มีเพียงในอีกสัตว์เหล่านี้เคยอาศัยอยู่ในป่าฝนซึ่งปัจจุบันหายไปแล้ว และพวกมันเคยเป็นยอดนักล่าซึ่งเป็นที่หวาดกลัวของสัตว์ชนิดอื่นๆ ก็เท่านั้น
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น