เคยได้ยินเรื่องราวของกฎหมายสุดแปลกชื่อ “Matrimonio riparatore” กันไหม?
นี่คือข้อกฎหมายของประเทศอิตาลีในอดีต ที่เกิดขึ้นจากการ ภายใต้มาตรา 544 แห่งประมวลกฎหมายอาญาอิตาลี คดีข่มขืนจะถูกมองว่าเป็น “ความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน” ไม่ใช่ “ความผิดต่อบุคคล”
ลักษณะของกฎหมายเช่นนี้ ทำให้ความผิดคดีข่มขืนกลายเป็นอะไรที่ถูกละเว้นได้ หากอาชญากรผู้ลงมือข่มขืน ย่อมรับผิดชอบแต่งงานกับเหยื่อ
ซึ่งต่อมากลายเป็นการกระทำที่ รู้จักกันในชื่อ “การรับผิดชอบด้วยการแต่งงาน” (Rehabilitating marriage หรือ Matrimonio riparatore ในภาษาอิตาลี)
ปัญหาหลักๆ ของกฎหมายแบบนี้ คือในประเทศอิตาลีดันมีแนวคิดที่ว่าผู้หญิงที่เสียพรหมจรรย์ก่อนแต่งงานเป็น “ผู้หญิงไร้ยางอาย” และนับเป็นเรื่องที่น่าอับอายมาก
ดังนั้นผู้หญิงส่วนใหญ่จึงมักยอมแต่งงานกับอาชญากรเพราะกลัวจะโดนตราหน้าว่าไร้ยางอาย
จนบ่อยครั้งในประเทศก็มักจะมีการฉวยโอกาสใช้กฎหมายนี้ ลักพาตัวผู้หญิงไปมีเพศสัมพันธ์ เพื่อบังคับให้ผู้หญิงต้องแต่งงานกับคนที่ไม่ได้รัก
(เรียกกันว่า “Fuitina” กิจกรรมซึ่งจริงๆ แล้วมีรากฐานจากการหนีตามกันของคู่ชายหญิงอีกที)
จุดอ่อนของกฎหมาย Matrimonio riparatore นั้นเริ่มกลายเป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลายในอิตาลีเป็นครั้งแรกเมื่อช่วงปี 1965
เมื่อ “ฟรังกา วิโอลา” วัย 17 ปีกลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ปฏิเสธการแต่งงานกับคนที่ข่มขืนเธอ หลังจากที่เธอถูกอดีตคู่หมั้นจับไปกักขังและข่มขืน
(อ่านเรื่องราวของเธอได้ที่: “ฟรังกา วิโอลา” หญิงแกร่งผู้ไม่ยอมแต่งงานกับคนที่ข่มขืนเธอ แม้ต้องถูกมองว่าไร้ยางอาย)
เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ จุดกระแสการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศ จนหลายปีหลังจากนั้น อิตาลีก็ต้องปรับปรุงกฎหมายกันเป็นการใหญ่
จนกระทั่งในวันที่ 5 กันยายน 1981 โทษการข่มขืนในอิตาลีก็ไม่สามารถถูกละเว้นได้ด้วยการแต่งงานกับเหยื่ออีกต่อไป และต่อมาในปี 1996 คดีความรุนแรงทางเพศในประเทศ ก็ได้ถูกกำหนดให้เป็นความผิดต่อบุคคลในที่สุด
ที่มา rarehistoricalphotos, wordsmusicandstories และ medium
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น