CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทย์ใช้กล้องความไวสูง จับรายละเอียด “ฝอยละอองขนาดเล็ก” ลอยในอากาศได้นานแค่ไหน

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการกระจายตัวของไวรัส COVID-19 จากคนสู่คนได้ มาจากฝอยละอองที่เกิดขึ้นจากระบบทางเดินหายใจของผู้ที่มีเชื้อ เมื่อเกิดอาการไอหรือจามจะส่งผลทำให้ไวรัสออกสู่พื้นผิวภายนอกได้

และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงได้ทดลองจับภาพของฝอยละอองขนาดเล็กที่เกิดขึ้นจากจาม ว่ามันจะเยอะและฟุ้งกระจายได้มากขนาดไหน

 

 

คลิปวิดีโอดังกล่าวจัดทำโดยความร่วมมือระหว่างสถานีโทรทัศน์ NHK และสมาคมโรคติดต่อแห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ในช่วงวิกฤตไวรัสระบาด

 

 

ด้วยกล้องชนิดพิเศษความไวสูงประกอบลำแสงเลเซอร์ที่ใช้ตรวจจับละออง ทำให้ทีมงานสามารถจับภาพของฝอยละอองขนาดเล็กเพียง 1/10,000 มิลลิเมตร (สัดส่วนขนาดเล็กมากๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า) โดยคาดว่าอาจจะเป็นอีกหนึ่งตัวการในการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19

 

ละอองขนาดใหญ่จะตกบนพื้นผิวต่างๆ ภายในเวลาอันสั้น

 

ในส่วนของฝอยละอองขนาดเล็กจะยังล่องลอยอยู่บนอากาศ

 

ในขณะที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายผ่านฝอยละอองขนาดเล็กเช่นนี้ได้หรือไม่ ในช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ได้ระบุว่าการแพร่กระจายเชื้อผ่านละออง “มีความเป็นไปได้”

 

 

โดยในส่วนวิดีโอคลิปการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นนี้ จะเน้นให้เห็นถึงภาพของละอองที่มองไม่เห็นหลังจากที่ถูกปล่อยออกมา และมันจะล่องลอยอยู่ในอากาศได้นานเท่าไหร่

 

การพูดคุยเสียงดังหรือหายใจแรงๆ ก็ทำให้เกิดละอองได้เช่นกัน

 

อีกทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่านอกเหนือจากการไอและจามที่จะก่อให้เกิดฝอยละอองได้แล้ว การพูดคุยเสียงดังๆ ก็ก่อให้เกิดฝอยละอองได้เช่นเดียวกัน และจะวนเวียนอยู่ในบริเวณเดิมสักพักใหญ่

 

 

ที่มา: nhk, petapixel


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น