CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทย์ชี้ อุกกาบาตที่ออสเตรเลียในปี 2016 จริงๆ แล้วเป็น “พระจันทร์จิ๋ว” ที่เคยโคจรรอบโลก

ย้อนกลับไปในปี 2016 ได้เกิดเหตุลูกไฟซึ่งเกิดจากการเสียดสีของชั้นบรรยากาศ พุ่งผ่านท้องฟ้าในทะเลทรายที่ออสเตรเลีย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น อาจจะถูกหลงลืมไม่ในฐานะของอุกกาบาตขนาดเล็กธรรมดาๆ ได้ไม่ยาก และว่ากันตามตรง แม้แต่ในหมู่นักดาราศาสตร์เองก็คงจะไม่มีใครจนใจลูกไฟลูกนี้เลย ถ้าว่ามันไม่ถูกจับภาพไว้ได้โดยกล้องจับภาพท้องฟ้าจำนวนมากบนโลก

 

 

แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไปเกือบๆ สามปี และนักดาราศาสตร์ได้มีโอกาสศึกษาของมูลของลูกไฟลูกนี้อย่างจริงจัง พวกเขาก็ได้พบกับเรื่องที่น่าสนใจมากๆ เรื่องหนึ่งเข้า นั่นเพราะลูกไฟลูกนี้ไม่ใช่สิ่งที่จู่ๆ ก็พุ่งเข้ามายังโลกอย่างที่พวกเราคิดเลย

กลับกันจากข้อมูลความเร็วและวิถีการตกที่นักดาราศาสตร์มีนั้น ล้วนแต่ชี้ไปในทางเดียวกันว่าอุกกาบาตลูกนี้ เคยโคจรอยู่รอบโลกในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะตกลงมาบนโลก ซึ่งทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกกันว่าวัตถุโคจรที่ถูกจับ (Captured orbiter) หรือ “พระจันทร์จิ๋ว” ไป

 

 

อ้างอิงจากนักวิจัย ตามปกติแล้วอุกกาบาตจะมีการพุ่งเข้าหาโลกอย่างรวดเร็ว จนทำให้มันไม่ได้รับผลกระทบจากแรงดึงดูดมากพอที่จะโคจรรอบโลก เหมือนอย่างที่ดวงจันทร์ของเราเป็น

อย่างไรก็ตามในบางกรณี ก้อนหินอวกาศเหล่านี้ ก็อาจจะมีความเร็วลดลงมากๆ จนมันถูกแรงดึงดูดของโลกทำให้มันหมุนวนไปรอบโลกได้เช่นกัน

ซึ่งอุกกาบาตในกรณีแบบนี้ นับว่าเป็นอะไรที่หาได้ยากเอามากๆ ถึงขนาดที่ในการจำลองอุกกาบาต 10 ล้านลูกด้วยคอมพิวเตอร์ในปี 2012 เราจะมีอุกกาบาตแค่ 18,000 ลูกเท่านั้น ที่กลายเป็นดวงจันทร์จิ๋วเช่นนี้

 

หนึ่งในระบบเครือข่ายตรวจจับลูกไฟในทะเลทราย (Desert Fireball Network) ของออสเตรเลีย

 

นี่อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยสำคัญอะไรต่อโลกมากนัก แต่การที่มีหินแบบนี้โคจรอยู่รอบโลกมันก็เป็นอะไรที่อาจส่งผลกระทบต่อการปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศได้ไม่ยากเช่นกัน แม้ว่าหินเหล่านี้โดยมากจะเล็กเกินกว่าที่จะทำอันตรายต่อจรวดก็ตาม

แต่ก็ด้วยความเล็กและตรวจสอบได้ยากของมันนี่เองที่ทำให้ ในปัจจุบันพวกเราไม่สามารถบอกได้เลยว่าโลกเรามี ดวงจันทร์จิ๋วแบบนี้อยู่กี่อันกันแน่ โดยหากเราหากเราอ้างอิงจากรายงานในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2019 โลกของเรา จะมีดวงจันทร์จิ๋วที่เคยมีการถูกค้นพบมาอยู่ที่เพียง 21,495 ลูกเท่านั้น

และก็แน่นอนว่า ด้วยความหายากขนาดนี้ ลูกไฟที่ดูจะธรรมดาในปี 2016 จึงกลายเป็นอะไรที่ไม่ธรรมดาแบบสุดๆ ในสายตาของนักดาราศาสตร์ไปเลย

 

ที่มา sciencealert และ iopscience


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น