CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ชม 20 ภาพประวัติศาสตร์ของ “ปาฏิหาริย์แห่งดันเคิร์ก” การอพยพทหารสุดโด่งดังแห่งปี 1940

ย้อนกลับไปในช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคมถึงวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ไม่นานหลังจากที่ทหารอังกฤษและฝรั่งเศสถูกกองทัพเยอรมันตัดขาดและล้อมกรอบจนต้องล่าถอยไปยังเมืองท่าดันเคิร์ก

ในช่วงเวลานั้นทาง ทั้งรัฐบาลและชาวประมงในพื้นที่ได้ร่วมมือกันออกเรือทุกลำที่ตัวเองพอจะหามาได้ ข้ามช่องแคบอังกฤษไป เพื่อที่จะพาเหล่าทหารหนุ่มที่ออกไปรบกลับมายังประเทศให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

 

การอพยพในวันนั้น แม้ว่าจะลำบากเอามากๆ แต่ในที่สุดสหราชอาณาจักรก็สามารถนำทหารหนุ่มที่ถูกล้อมกลับมายังประเทศได้มากถึง 338,226 นาย จนทำให้เหตุการณ์ในวันนั้นถูกจดจำไปอีกนานแสนนานในชื่อ “ปาฏิหาริย์แห่งดันเคิร์ก”

และนี่คือภาพส่วนหนึ่งของ เหตุการณ์แห่งประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์นิดๆ นั้น

เริ่มกันจากภาพของถังน้ำมันที่กำลังถูกเผาไหม้ที่หาดดันเคิร์ก

 

เรือกวาดทุ่นระเบิดพันธมิตร ทำงานเพื่อเคลียร์ทางในช่องแคบอังกฤษ เพื่อให้ขบวนเรืออพยพมุ่งหน้าไปยังดันเคิร์ก

 

กองกำลังชาวอังกฤษเดินไปยังหนึ่งในเรือเล็กที่มาช่วยในการอพยพ

 

ทหารอังกฤษกับการรอคอยเรือบนชายหาดที่ดันเคิร์ก

.

 

ทหารอังกฤษยืนมองการทิ้งระเบิดของเยอรมันจากบนเรือ

 

เมืองดันเคิร์ก ระหว่างการทิ้งระเบิด

 

เรืออังกฤษช่วยเหลือทหารที่พาหนะจมระหว่างการถอยทัพ

 

ทหารอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งมาถึงที่ท่าเรืออังกฤษอย่างปลอดภัย

 

แถวของทหารอังกฤษที่รอคอยเรือมารับ

 

กองทหารอังกฤษและฝรั่งเศสลุยน้ำไปที่เรืออพยพ

 

ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรปีนขึ้นไปบนเรือในระหว่างการอพยพ

 

เสื้อโค้ทและอุปกรณ์รบซึ่งถูกทิ้งไว้บริเวณชายหาด

 

ลูกเรือของเรือพิฆาตฝรั่งเศส ถูกลากขึ้นบนเรืออังกฤษจากแพชูชีพ ไม่นานหลังเรือจม

 

หนึ่งในกองทหารกลุ่มสุดท้ายที่จะถูกพาอพยพโดยเรือพลเรือนสองลำ

 

เรือพิฆาตของอังกฤษพาผู้อพยพกลับบ้านขณะดันเคิร์กลุกไหม้ และทหารบางส่วนยังคงสู้อยู่

 

กองกำลังสัมพันธมิตรยกขบวนขึ้นเรือระหว่างการอพยพ

 

ทหารชาวฝรั่งเศสที่ได้รับบาดเจ็บมาถึงโดเวอร์หลังอพยพจากดันเคิร์ก

 

และตอร์ปิโดบนชายหาดท่ามกลางอุปกรณ์ที่ถูกทิ้งอื่นๆ หลังจากการอพยพของฝ่ายพันธมิตร

 

ที่มา rarehistoricalphotos


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น