CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ชม 5 เหตุการณ์ความผิดพลาดในอดีต ที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์โลกทั้งใบ

ความผิดพลาดนับว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์กันมาเป็นเวลานาน มันสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากความตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ และอาจมีผลกระทบได้ในระดับที่ต่างๆ กันไปแล้วแต่ความรุนแรงของความผิดพลาดนั้นๆ

ถึงอย่างนั้นก็ตาม แม้แต่ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่เราทำ ก็อาจจะนำมาซึ่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่น่าเชื่อเลยเช่นกัน เหมือนอย่างความผิดพลาดที่ส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ระดับประวัติศาสตร์ต่อไปนี้

 

1. อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ลืมทำความสะอาดห้องแล็บ

ย้อนกลับไปในปี 1928 อเล็กซานเดอร์เฟลมมิง(Alexander Fleming) นักแบคทีเรียวิทยาชาวสก็อต ได้เดินทางกลับบ้านเพื่อใช้เวลาเดือนสิงหาคมปีนั้นอยู่กลับครอบครัว อย่างไรก็ตามเขาลืมทำความสะอาดจานเพาะเชื้อในห้องแล็บ

การกระทำของเขาในวันนั้นทำให้ตัวอย่างเชื้อโรคหลายชนิดของเขาถูกทำลายไปจากการเติบโตของรา ดังนั้นเขาจึงนำราดังกล่าวไปเพาะเชื้อและค้นพบ “ยาปฏิชีวนะ” ที่จะถูกนำใช้ช่วยคนด้วยความบังเอิญล้วนๆ

 

2. พลร่มในเหตุการณ์ D-day โดนลมพัดจนกระจายไปทั่วหาด

การที่พลร่มโดนร่มพัดจนกระจายกันในสงครามนั้นโดยมากแล้วมักจะนำมาซึ่งความล้มเหลวของปฏิบัติการอยู่เสมอ แต่มันไม่ใช่สำหรับพลร่มในเหตุการณ์ D-day

เพราะแม้ว่าการที่พลร่มกระจายกันไปทั่วจะทำให้ปฏิบัติการติดขัดอยู่บ้าง แต่ในขณะเดียวกันมันก็ทำให้ฝ่ายบัญชาการของนาซีสับสนเช่นกัน เพราะในคืนนั้นมีทหารโผล่มาทั่วหาด แถมยังโจมตีเป้าหมายที่ต่างกัน และไม่มีจุดศูนย์กลางที่แน่ชัด จนทำให้สุดท้ายแล้วการรับมือกับพลร่มเหล่านี้จึงเป็นไปได้อย่างไม่ดีเท่าที่ควรไป

แน่นอนว่าเรื่องการที่พลร่มกระจายกันออกไปมีส่วนช่วยเหลือทหารพันธมิตรจริงๆ หรือไม่ นั้นอาจจะเป็นหัวข้อที่ซับซ้อน แต่อย่างน้อยๆ เรื่องที่เกิดขึ้นก็สร้างปัจจัยด้านความไม่คาดฝันให้ทางนาซีได้จริงๆ

 

3. กองทัพญี่ปุ่นเลือกเป้าหมายโจมตีผิดที่เพิร์ลฮาร์เบอร์

ในวันที่ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐฯ ในปี 1941 พวกเขามีเป้าหมายหลักๆ อยู่ที่การทำลายเรือรบของสหรัฐฯ เพื่อตัดกำลังรบไม่ให้สหรัฐเขามายุ่งกับปฏิบัติการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัญหาคือในเวลานั้น แม้ว่าพวกเขาจะทำลายเรือรบของสหรัฐฯ ไปได้หลายลำอย่างที่หวัง ทางญี่ปุ่นกลับไม่ได้แตะต้อง โรงเก็บน้ำมันหรือโรงซ่อมเรือในพื้นที่เลย ดังนั้นเมื่อได้เกาะคืนสหรัฐจึงสามารถให้งานเกาะได้อย่างเต็มที่ในแทบจะทันทีนั่นเอง

 

4. การเลือกบุกรัสเซียใน (หรือใกล้ๆ) ฤดูหนาว

นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วกับกองทัพหลายประเทศในประวัติศาสตร์ ทั้งสวีเดนเมื่อปี 1708 ซึ่งเสียหายไปกว่า 16,000 คน  นโปเลียน โบนาปาร์ตผู้ที่จำเป็นต้องล่าถอยแม้ยึดมอสโกได้แล้วในปี 1812 (และเสียทหารไปเกือบ 50,000 นายในระหว่างการถอยทัพ)

แต่เหตุการณ์การบุกรัสเซียที่หลายๆ คนจำกันได้ก็คงไม่พ้น การบุกรัสเซียของฮิตเลอร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั่นเอง เพราะแม้ว่าเขาจะมั่นใจมานาซีจะยึดรัสเซียได้ก่อนฤดูหนาว แต่สุดท้ายแล้วกองทัพก็ไม่สามารถทำได้ทัน จนต้องเสียทหารไปร่วม 8 แสนนายเลย (แม้ว่าอีกฝั่งจะเสียคนไปมากกว่าก็ตาม)

 

5. ต้นหนของเรือไททานิค ไม่มีกล้องส่องทางไกล

แน่นอนว่าเรื่องราวเกิดกับการที่เรือไททานิคล่มนั้นมีสาเหตุที่หลากหลาย แต่หนึ่งในสาเหตุที่หลายๆ คนบอกว่าเป็นความผิดพลาดมากๆ อย่างหนึ่งคือการที่ ต้นหนของเรือไม่มีกุญแจที่จะเปิดตู้เก็บกล้องส่องทางไกลของเจ้าหน้าที่คนเก่านั่นเอง

และด้วยความที่ไม่มีกล้องส่องทางไกล ต้นหนคนดังกล่าวจึงจำเป็นต้องทำงานด้วยตาเปล่า และไม่แน่เหมือนกันว่านี่อาจจะทำให้เขาสังเกตเห็นก้อนน้ำแข็งช้าเกินไป จนทำให้เรือชนภูเขาน้ำแข็งก็เป็นได้

 

ที่มา ranker


Posted

in

,

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น