CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

วิจัยชี้ ปลาไหลหน้าลิงแห่งทะเลแปซิฟิก อาจเป็นแหล่งอาหารสำคัญของมนุษย์ในอนาคต

เพื่อนๆ เคยได้ยินเรื่องราวของปลาไหลหน้าลิงอย่าง Monkeyface prickleback (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cebidichthys violaceus) กันมาก่อนไหม?

นี่คือปลาที่พบได้ทั่วไปในชายฝั่งแปซิฟิกของอเมริกาเหนือ และมีจุดเด่น (นอกจากเรื่องหน้าตา) อยู่ที่การมีระบบย่อยอาหารที่ประกอบด้วย กระเพาะที่มีน้ำกรด ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เหมือนกับมนุษย์ไม่มีผิด แถมยังเป็นปลาเพียงไม่กี่ชนิดในโลกที่กินพืชเป็นอาหาร และใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินตะไคร่น้ำเท่านั้น

 

 

ฟังมาถึงตรงนี้หลายๆ คนอาจจะเริ่มสงสัยกันแล้วว่าเจ้าปลาตัวนี้มันมีความสำคัญอย่างไร ทำไมเราต้องหยิบยกเลี้ยงราวของมันขึ้นมากล่าวถึงด้วย? คำตอบของคำถามนี้คือเพราะในอนาคตเจ้าปลาไหลหน้าลิงเหล่านี้ อาจจะกลายเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารนั่นเอง!!

อ้างอิงจากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ไปในวารสาร Proceedings of the Royal Society B เหตุผลที่ทำให้ปลาตัวนี้เหมาะสมกับการนำมาแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารนั้น มาจากระบบการย่อยอาหารของมัน ซึ่งมีความสามารถในการย่อย “ลิพิด” สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งหลังงานสำคัญของสิ่งมีชีวิต (ที่เราเรียกกันว่าไขมันพืชไขมันสัตว์นั่นเอง)

ความสามารถนี้ทำให้พวกมันเอาชีวิตรอดได้ แม้ด้วยอาหารที่มีลิพิดอยู่น้อยนิด ซึ่งทำให้มันเหมาะสมแก่การเลี่ยงในฟาร์มทีละมากๆ ในช่วงเวลาที่ภาวะโลกร้อนขึ้นทุกวัน จนการเลี้ยงปศุสัตว์ “ยั่งยืนน้อยลง” เช่นนี้

 

 

“การใช้อาหารจากพืชช่วยลดทั้งมลพิษและค่าใช้จ่ายของการเลี้ยงสัตว์ลงได้” คุณ Joseph Heras นักเขียนหลักของงานวิจัยกล่าว “อย่างไรก็ตามปลาที่เราเพาะเลี้ยงส่วนใหญ่กลับเป็นสัตว์กินเนื้อที่ไม่สามารถย่อยลิพิดในพืชได้” 

เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า Monkeyface prickleback นั้นไม่เพียงแต่จะเลี้ยงได้ง่ายเท่านั้น แต่พวกมันจะมีความทนทานสูงมากจนเอาชีวิตรอดเหนือน้ำได้นานกว่า 37 ชั่วโมงด้วยระบบการหายใจของมัน แถมหากเลี้ยงให้ดียังสามารถตัวโตได้มากถึง 1 เมตร และหนักกว่าเลย 2.5 กิโลกรัมเลย ทำให้มันเหมาะสมจะเป็นแหล่งอาหารใหม่อย่างมาก

 

 

ที่สำคัญคือเมื่อลองเอาเนื้อของมันไปทำอาหาร ผลตอบรับส่วนใหญ่ก็ออกมาว่าเนื้อสีขาวของปลาชนิดนี้ “รสชาติดี” อย่างไม่น่าเชื่อเลยด้วย

 

ที่มา foxnews, royalsocietypublishing และ uci


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น