CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักดาราศาสตร์พบดาวนิวตรอน ที่อาจมีมวลมากที่สุด สูงกว่าดวงอาทิตย์ 2.14 เท่า

ในพื้นที่อวกาศอันไกลโพ้น ห่างออกไปจากโลกราวๆ 4,500 ปีแสง ทีมนักดาราศาสตร์ค้นพบดาวนิวตรอนดวงหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นดาวนิวตรอนที่มีมวลมากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยพบมาเลย

ดาวดวงดังกล่าวนี้มีชื่อว่า “J0740+6620” ดาวนิวตรอนซึ่งเป็นมีสภาพเป็น “พัลซาร์” หรือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมาก และแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ

 

 

โดยสำหรับดาว J0740+6620 นั้น แม้ว่ามันจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงแค่ 30 กิโลเมตรเท่านั้น แต่มันกลับมีมวลกว่าดวงอาทิตย์ของเราซึ่งมีขนาด 1.39 ล้านกิโลเมตรถึง 2.14 เท่า

และทำให้มันกลายเป็นดาวดาวนิวตรอนดวงแรกที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 2 ดวง ที่มีการช่วงความเชื่อมั่น (Confidence Interval) อยู่ที่ 68%

พวกเขาทราบถึงการมีอยู่ของ J0740+6620 จากข้อมูลการแผ่รังสีจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่หอดูดาว Green Bank และ Arecibo ซึ่งเป็นข้อมูลของกลุ่มนักดาราศาสตร์ North American Nanohertz Observatory for Gravitational Waves (NANOGrav)

 

 

เมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลของ NANOGrav ทีมนักดาราศาสตร์ที่นำโดย Thankful Cromartie จาก University of Virginia ก็พบกับปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์อันซับซ้อนซึ่งจะสามารถนำมาวิเคราะห์มวลของดวงดาวดวงนี้ได้ อย่างเช่นความล่าช้าของคลื่นจากดาว

การค้นพบมวลของ J0740+6620 นับว่าเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญมากๆ นั่นเพราะในปี 2017 นักดาราศาสตร์เคยสันนิษฐานไว้ว่าดาวนิวตรอนจะไม่สามารถมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เกิน 2.17 เท่าได้ ไม่เช่นนั้นมันจะพังทลายลงสู่หลุมดำ

 

 

ดังนั้นหากแนวคิดของคุณ Cromartie และทีมวิจัยไม่มีอะไรผิดพลาด มันก็จะหมายความว่าดาว J0740+6620 ได้ทำลายขีดจำกัดเรื่องมวลของดาวนิวตรอนไปแล้ว และไม่แน่ว่าเราเองก็าจจะต้องเปลี่ยนแนวคิดเรื่องดวงดาวเหล่านี้กันใหม่มากมายพอสมควรเลย

อนึ่ง การค้นพบครั้งนี้ถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการครั้งแรกในวารสาร Nature Astronomy เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา โดยรายงานตัวเต็มของการค้นพบครั้งนี้ สามารถอ่านได้ ที่นี่

 

ที่มา livescience, sciencealert, nature


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น