CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

มหัศจรรย์แดนจิงโจ้ สาวออสเตรเลียแชร์ภาพ “มอธยักษ์” ตัวใหญ่กว่าผ่ามือเธออีก

นับว่าเป็นอีกข่าวที่แสดงให้เห็นถึงความมหัศจรรย์และความแตกต่างของระบบนิเวศน์ประเทศออสเตรเลียที่ชาวเน็ตกำลังสนใจกันไปแล้ว

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ใช้เฟซบุ๊ก Pam Taylor ได้ออกมาแชร์ภาพเรื่องราวการพบกับตัวมอธ (ผีเสื้อราตรี) ขนาดยักษ์ของตัวเอง ในพื้นที่เมืองบริสเบน รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย

 

 

ภาพของเธอนั้นถูกเผยแพร่ออกมาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2021 ในกลุ่ม Amateur Entomology Australia และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะตัวมอธที่เธอพบนั้นเรียกได้ว่ามีขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือเธอเสียอีก

อ้างอิงจากนักกีฏวิทยาสมัครเล่นหลายคนในกลุ่มตัวมอธที่เห็นนี้เป็นไปได้ว่าจะมาจากสายพันธุ์ “Endoxyla Cinereus” หรือ “มอธไม้ยักษ์” นั่นเอง

แน่นอนว่าด้วยชื่อของมันหลายๆ คนก็คงจะพอเดากันได้ว่ามอธสายพันธุ์นี้คงจะมีขนาดที่ใหญ่ไม่น้อย

ซึ่งเจ้ามอธไม้ยักษ์นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผีเสื้อกลางคืนที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก ด้วยน้ำหนักที่อาจมากได้ถึง 30 กรัมและมีปีกที่กว้างได้ถึง 25 เซนติเมตรเลย

 

 

และราวกับจะทำให้เรื่องที่น่าสนใจอยู่แล้วน่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีก หลังจากที่โพสต์ที่เห็นนี้โด่งดังขึ้นมาได้ไม่นาน Taylor ก็ออกมาอัปเดตเรื่องราวที่ตน ด้วยภาพของมอธยักษ์ที่ขนาดใกล้เคียงกันอีกตัว

พร้อมระบุไว้ด้วยว่ามอธทั้งสองตัวนั้นสามารถเอาตัวรอดจากค่ำคืนที่มีพายุได้อย่างไม่น่าเชื่อ แถมดูเหมือนว่าพวกมันจะหาคู่ได้สำเร็จในคืนดังกล่าวเลยด้วย

“เมื่อเช้านี้ฉันไปตรวจดูมอธที่เคยพบเพื่อดูว่ามันรอดจากพายุไหม… แต่ดูเหมือนมันจะกำลัง ‘ยุ่ง’ อยู่ล่ะ!!” คุณ Taylor ระบุ ก่อนจะอัปเดตโพสต์ดังกล่าวอีกทีว่า “ดูเหมือนมอธตัวที่ใหญ่กว่าจะเป็นตัวเมียไม่ใช่ตัวผู้ด้วย”

 

 

อ้างอิงจากในคอมเมนต์ดูเหมือนว่ามอธไม้ยักษ์นั้น จะถูกเรียกด้วยชื่อเล่นว่า “มอธพายุ” หรือ “มอธฝน” ด้วย จากการที่มันจะหาคู่แม้ในสภาพอากาศที่ไม่ดี

โดยพวกมันเป็นมอธที่หาพบได้ค่อนข้างง่ายในออสเตรเลีย แม้ว่าตามปกติจะตัวไม่ใหญ่ถึงขนาดที่คุณ Taylor พบ

 

 

และแม้ว่ามันจะตัวใหญ่ขนาดนี้ก็ตาม ด้วยความที่มอธนั้นไม่มีปากและจะมีชีวิตอยู่แค่ช่วงสั้นๆ เพื่อผสมพันธุ์ หลังโตเต็มวัย มอธ 2 ตัวในรูปนี้ จึงไม่น่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานนัก

แม้ว่าพวกมันดูเหมือนว่าจะประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์แล้วก็ตามที

 

ที่มา odditycentral


Posted

in

,

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น