CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

พบแบคทีเรียตัวใหม่ใต้ทะเลอาร์กติก นักวิทย์ชี้เป็นญาติกับแบคทีเรียโรคหนองในเทียมอีกที

ในขณะที่โลกกำลังหวาดกลัวต่อไวรัสร้ายแรงกันอยู่ ลึกลงไปใต้ผืนน้ำของมหาสมุทรอาร์กติก นักวิทยาศาสตร์ก็ได้มีโอกาสพบกับแบคทีเรียคลามายเดีย (Chlamydia) สายพันธุ์ใหม่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็น “ญาติ” กับแบคทีเรีย “คลามายเดีย แทรโคมาทิส” ต้นต่อของโรคหนองในเทียมเข้า

 

 

อ้างอิงจากข้อมูลงานวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา แบคทีเรียคลามายเดียที่ถูกพบในครั้งนี้อาศัยอยู่ลึกลงไปราวๆ 3 กิโลเมตร ใต้ท้องทะเล ในสภาพแวดล้อมซึ่งมีความดันสูง แถมยังมีออกซิเจนน้อย ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่แปลกมาก สำหรับแบคทีเรียซึ่งปกติจะต้องอาศัยในร่างกายสัตว์อื่นเช่นนี้

“การค้นพบคลามายเดียในสภาพแวดล้อมนี้ เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีใครคาดมาก่อน และทำให้เกิดคำถามได้ไม่ยากว่า พวกมันมาทำอะไรอยู่ที่นี่” คุณ Jennah Dharamshi ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายและวิวัฒนาการของจุลินทรีย์จากมหาวิทยาลัยอุปซอลา นักเขียนหลีกของงานวิจัยกล่าว

คุณ Jennah เล่าว่าเธอและทีมงานค้นพบแบคทีเรียคลามายเดียเหล่านี้ ในตอนที่พวกเธอกำลังตรวจสอบตัวอย่างตะกอนใกล้ๆ ปล่องน้ำร้อนใต้สมุทรซึ่งตั้งอยู่ระหว่างไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และหมู่เกาะสวาลบาร์ด

 

 

ในเวลานั้น แบคทีเรียกลุ่มนี้ถูกค้นพบอยู่กันเป็นหมู่ โดยไม่มีสัตว์ใดเป็นที่อาศัย ซึ่งแม้ว่านี่จะเป็นคุณสมบัติที่แบคทีเรียโรคหนองในเทียมในปัจจุบันก็มี แต่เจ้าคลามายเดียกลุ่มใหม่นี้ก็มีความแตกต่างสำคัญกับญาติๆ ของมัน อยู่หลายจุด เช่นกัน

คุณ Jennah อธิบายสิ่งที่พวกเธอ ในปัจจุบัน พวกเธอยังไม่อาจบอกได้ว่า เพราะเหตุใดแบคทีเรียคลามายเดียที่พบถึงสามารถเอาชีวิตรอดในที่ที่ดูจะไม่มีอะไรเลยเช่นนี้ได้ อย่างไรก็ตามพวกเธอก็คาดไว้ว่า กุญแจสำคัญในการเอาตัวรอดของมัน อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับ ความสามารถในการแย่งอาหารจากจุลินทรีย์อื่นๆ ก็ได้

“แม้ว่าแบคทีเรียคลามายเดียเหล่านี้ จะไม่มีสิ่งมีชีวิตที่เป็นโฮสต์ก็ตาม แต่เราก็คาดว่าพวกมันคงจะยังต้องการสารประกอบในการใช้ชีวิตจากจุลินทรีย์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในตะกอนอยู่ดี” คุณ Jennahกล่าว “นั่นหมายความว่าแบคทีเรียกลุ่มนี้อาจจะมีบทบาทในระบบนิเวศวิทยาทางทะเลมากกว่าที่เราคิด”

 

 

และการศึกษาแบคทีเรียที่ถูกค้นพบในครั้งนี้เอง ก็อาจจะช่วยให้เราไขปริศนาที่ว่าทำไมแบคทีเรียคลามายเดียบางชนิด จึงเลือกที่จะวัฒนาการตัวเอง มาติดในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อย่างพืช สัตว์ หรือแม้แต่มนุษย์ก็เป็นได้

 

ที่มา livescience และ cell


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น