CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

สุดไซไฟ!! บ.สหรัฐฯ ปล่อยดาวเทียมใหม่ มองทะลุตึกเป็นภาพ 3 มิติ แถมใช้ได้แม้ตอนกลางคืน

หากเรากล่าวถึงระบบดาวเทียมที่มองทะลุสิ่งปลูกสร้างได้ หลายๆ คนก็คงจะคิดว่ามันเป็นแค่เรื่องเกินจริงที่พบได้แค่ในภาพยนตร์ หรือไม่ก็อนาคตอันห่างไกลเท่านั้น

 

 

แต่เชื่อกันหรือไม่ ว่าเทคโนโลยี ระบบดาวเทียมมองทะลุสิ่งปลูกสร้างนั้น แท้จริงแล้วมันอาจจะเป็นอะไรที่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิดไว้มากก็ได้ เพราะเมื่อล่าสุดนี้เองเราก็เพิ่งจะมีบริษัทในสหรัฐ ที่ออกมาประกาศว่า

พวกเขาได้ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมดวงใหม่ที่จะสามารถ ถ่ายภาพเรดาร์ได้ชัดเจนจากทุกที่ในโลกด้วยความละเอียดที่น่าทึ่ง จนถึงขนาดที่ “มองทะลุกำแพง” ของอาคารบางแห่งได้แล้ว

 

 

เจ้าดาวเทียมดวงใหม่ที่ว่านี้มีชื่อว่า Capella 2 ผลงานของบริษัท Capella Space ที่นำโดยคุณ Payam Banazadeh อดีตวิศวกรระบบของห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซาอีกที

เจ้าดาวเทียมดวงใหม่นี้ถูกระบุว่าจะทำงานโดยระบบเรดาร์รูรับแสงสังเคราะห์หรือ “SAR”

 

 

โดยมันเป็นระบบส่งสัญญาณวิทยุ 9.65 GHz ไปยังเป้าหมายของดาวเทียม เพื่อสร้างภาพขึ้นมา ในลักษณะ คล้ายกับการหาตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุด้วยการสะท้อนกลับของโลมาและค้างคาวอีกที

ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ดาวเทียมนี้ทำงานได้โดยไม่ต้องสนใจว่าท้องฟ้าจะเปิดไหม แต่มันยังมีพลังในการมองทะลุเพดานหรือกำแพงบางชนิด และสร้างภาพออกมาเป็นระบบ 3 มิติด้วยดาวเทียมแบบเดียวกัน 2 ดวงเลยด้วย

 

 

“ที่ระดับความถี่นี้ เมฆนั้นแทบจะเป็นสิ่งที่โปร่งใสเลย” คุณ Payam กล่าว “คุณจะสามารถส่งคลื่นทะลุเมฆหมอก ความชื้น หรือแม้แต่หมอกควัน เรียกได้ว่าสิ่งเหล่านั้น จะไม่ใช่อุปสรรคสำคัญอีกต่อไป”

“และเนื่องจากคุณสร้างสัญญาณของคุณเอง ระบบนี้จึงเหมือนกับว่าคุณกำลังถือไฟฉายไปพร้อมกัน จนคุณไม่จำเป็นต้องสนใจว่านี่คือเวลากลางวันหรือกลางคืนด้วยซ้ำ”

 

 

อ้างอิงจากเจ้าตัว บริษัท Capella Space นั้นแม้ว่าจะไม่ใช่ผู้คิดค้นระบบ SAR ขึ้นมา แต่ก็เป็นบริษัทในสหรัฐบริษัทแรกที่มีการนำมันมาใช้ในเชิงพาณิชย์

และแม้ว่าในปัจจุบันความคมชัดของภาพจะยังถูกจำกัดไว้อยู่ (ไม่ใช่เพราะข้อจำกัดทางเทคโนโลยีแต่เป็นเพราะกฎหมาย) แต่ทางบริษัทก็เชื่อว่าระบบดังกล่าว จะได้รับความนิยมเอามากๆ

โดยเฉพาะในหมู่เจ้าหน้าที่รัฐ ที่อาจจะใช้มันในการติดตามข้าศึก หรือติดตามกิจกรรมสำคัญๆ ในสนามบินต่อไปในอนาคตนั่นเอง

 

ที่มา futurism, unilad และ capellaspace


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น