หากว่าเพื่อนๆ เป็นคนที่มีโอกาสติดตามข่าววงการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนๆ อาจจะเคยได้ยินข่าวกันมาบางว่าในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผลการทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ทำการค้นพบว่าช่องโหว่ในชั้นโอโซนบริเวณขั้วโลกเหนือของเรานั้น ในปัจจุบันได้ค่อยๆ แคบลงอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น นี่คงอาจจะเป็นเหมือนบทสรุปของข่าวดีในเวลานั้นเลยก็เป็นได้ เพราะเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์จากองค์กร Copernicus’ Atmospheric Monitoring Service (CAMS) ซึ่งค่อยเฝ้าตรวจสอบช่องโหว่ในชั้นโอโซนของเรา ได้มีการออกมาอัปเดตข่าวเกี่ยวกับชั้นโอโซนดังกล่าวว่า
ในปัจจุบัน รูที่ใหญ่ที่สุดของชั้นโอโซนบริเวณขั้วโลกเหนือของเรา ในปัจจุบันได้ฟื้นฟูตัว จนปิดลงโดยสมบูรณ์แล้ว!! ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อระบบภูมิอากาศของโลกโดยรวมเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านทิศทางลม และการป้องกันรังสี UV
อ้างอิงจากรายงานที่ได้รับการเปิดเผยออกมา รูของชั้นโอโซนที่ขั้วโลกเหนือนั้น ได้ปิดตัวลงแบบสนิทเป็นครั้งแรกในวันที่ 23 เมษายน 2020 หลายสิบปีหลังจากที่นานาชาติเข้าร่วมสนธิสัญญา “พิธีสารมอนทรีออล” ซึ่งควบคุม, ยับยั้ง และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเมื่อปี 1987
อากาศที่อุดมด้วยโอโซน (สีแดง) พัดปิดช่องโหว่ในชั้นโอโซนในวันที่ 23 เมษายน
นี่นับว่าเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของวงการนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกเลยก็ว่าได้ และมันก็แสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า โลกของเรานั้นยังไม่สายเกินไปกว่าที่จะฟื้นตัวหากว่ามนุษย์ไม่ทำลายโลกไปมากกว่านี้
ถึงอย่างนั้นก็ตาม แม้ว่าช่องโหว่ของชั้นโอโซนที่ใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดจะปิดตัวลงไปแล้ว มันก็ไม่ได้หมายความว่าช่องโหว่ของชั้นโอโซนทั้งหมดในโลกได้กลับมาอยู่ในภาวะปกติแล้วแต่อย่างไร นั่นเพราะโลกเรานั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีช่องโหว่ของชั้นโอโซนแค่ช่องเดียวเท่านั้น
ข่าวการปิดตัวของช่องโหว่ในชั้นโอโซน ที่ได้รับการเปิดเผยโดยทาง CAMS
The unprecedented 2020 northern hemisphere #OzoneHole has come to an end. The #PolarVortex split, allowing #ozone-rich air into the Arctic, closely matching last week's forecast from the #CopernicusAtmosphere Monitoring Service.
More on the NH Ozone hole➡️https://t.co/Nf6AfjaYRi pic.twitter.com/qVPu70ycn4
— Copernicus ECMWF (@CopernicusECMWF) April 23, 2020
เพราะในปัจจุบัน ช่องโหว่ของชั้นโอโซนที่ทวีปแอนตาร์กติกและขั้วโลกใต้เอง ก็ยังคงสภาพเปิดค้างอยู่อย่างนั้น และดูเหมือนว่า ชั้นโอโซนในบริเวณดังกล่าวก็จะต้องใช้เวลาจนถึงปี 2050 เลยทีเดียว กว่าที่มันจะกลับสู่สภาพปกติโดยสมบูรณ์
ที่มา livescience, ladbible
Advertisement
0 Comments